วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

北京 BEIJING สถานที่น่าสนใจในปักกิ่ง (3) BEIJING CAPITAL MUSEUM พิพิธภัณฑ์นครหลวงปักกิ่ง

深入北京、走进北京。 เจาะลึกปักกิ่ง
           
                                            เจาะลึกปักกิ่ง (3) CAPITAL MUSEUM  
                        ภาพงานปั้นจำลองการทำเครื่องปั้นดินเผาของเมือง จิ่งเต๋อเจิ้น

                                                    ภาพและเรื่องโดย สุวรรณา สนเที่ยง

               (คลิกที่ภา่พ เพื่อดูภาพที่ใหญ่ขึ้น) 


                   ภาพแรก  ประเดิมด้วยภาพที่ได้มาจากเว็บไซต์ของ CAPITAL MUSEUM (首都博物馆)

      เจาะลึกปักกิ่ง ตอน CAPITAL MUSEUM (首都博物馆)
ภาพงานปั้นจำลองการทำเครื่องปั้นดินเผาของเมือง "จิ่งเต๋อเจิ้น" (景德镇)

      การท่องเที่ยวเชิงศึกษา กิจกรรมค่ายภาษาจีน  พิพิธภัณฑ์นครหลวงปักกิ่ง

      พิพิธภัณฑ์ในกรุงปักกิ่งมีจำนวนมาก  บางแห่งก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เช่น พิพิธภัณฑ์กู้กง (พระราชวังในอดีต)
      แต่วันนี้ยังไม่นำภาพของกู้กงมาลงก่อน  แต่จะนำภาพบางส่วนที่ถ่ายจาก CAPITAL MUSEUM (首都博物馆) ที่กรุงปักกิ่งมาลงก่อน   โดยเฉพาะส่วนที่เป็นภาพการจำลองการทำเครื่องปั้นดินเผาจากเมือง จิ่งเต๋อเจิ้น (景德镇) ที่มีประวัติการทำเครื่องปั้นดินผาคุณภาพเยี่ยมที่สุดมากว่า 1,000 ปี และมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถ้าไปกับทัวร์ทั่วไป จะไม่มีโอกาสไปแวะชม เนื่องจากต้องใช้เวลาเดินนาน
      ภาพเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกการเดินทางที่อยากจะนำมาลงไว้เผื่อมีคนชอบนะคะ
   
ที่ตั้ง
      CAPITAL MUSEUM (首都博物馆 โส่วตูปั๋ววู่กว่าน ) เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อย ที่บอกเล่าเรื่องราวและวิถีชีวิตชาวปักกิ่งในอดีตเป็นหลัก  อาคารที่คณะเราไปชมนั้น  เป็นพิพิธภัณฑ์นครหลวงอาคารใหม่ซึ่งย้ายมาจากอาคารเดิม  อาคารนี้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ปี 2006 ( 首都博物馆新馆于 2006 年 5 月 18 日正式开馆 )
 
      ตั้งอยู่ที่ ฟู่ซิงเหมิน (位于复兴门外大街16号) ใกล้กับแหล่งช็อปปิ้งซีตัน (西单) จากซีตันเรียก Taxi ไป 10 หยวน  ถ้านั่งรถเมลล์ก็ 1 หยวน

***พิพิธภัณฑ์หลักที่น่าไปมากกว่า CAPITAL MUSEUM  คือ  NATIONAL MUSEUM OF CHINA (中国国家博物馆) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่มาก  ชมครั้งเดียวไม่หมด  ตั้งอยู่แถวเทียนอันเหมิน มีอะไรน่าดูกว่ากันเยอะ  ตามลิงก์นี้นะคะ
http://www.chnmuseum.cn/english/tabid/469/Default.aspx    ***

     ภาพแรกเป็นภาพภายนอกอาคาร CAPITAL MUSEUM  พิพิธภัณฑ์นครหลวง


 รูปนี้ก็เป็นภาพภายนอก  มีลายเซ็นของประธานาธิบดี เจียงเจ๋อหมิน



ป้ายที่บอกตำแหน่งที่ตั้ง


ประตูทางเข้า  ซึ่งกระจกสะท้อนเห็นภาพตึกต่างๆ ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม


ภาพปั้นขนาดเล็กจำลองการทำเครื่องปั้นดินเผา เขาทำได้ละเอียดมากค่ะ  คนถ่ายชอบมาก ( ภาพนี้ถ่ายครบทั้งภาพ ถ่ายผ่านกระจก )



ภาพปันขนาดเล็กจำลองการทำเครื่องปั้นดินเผา ซูมเข้าไปดูใกล้อีกนิดนึง  ไม่ครบทั้งภาพ  ได้บางส่วน



ภาพปันขนาดเล็กจำลองการทำเครื่องปั้นดินเผา ซูมเข้าไปในภาพ เห็นคนที่กำลังขึ้นรูป



อีกภาพที่ซูมเข้าไป  ไม่ได้เรียงตามขั้นตอนการทำนะคะ



ภาพนี้เห็นสีหน้าคนทำด้วยค่ะ  ซูมเข้าไปมากสุดได้เท่านี้



เนื่องจากคนถ่ายชอบ  ก็เลยอยากเอามาลงไว้ค่ะ  รูปนี้ข้างซ้ายเป็นเตาเผาค่ะ



ภาพสุดท้ายของเรื่องนี้  ถ่ายด้วยกล้องอัตโนมัติ  ซูมได้แค่นี้ค่ะ



ตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผานะคะ


หยกก็มี






 (คลิกที่ภาพ เพื่อดูภาพที่ใหญ่ขึ้น) 









มีช้างอยู่ในพิพิธภัณฑ์นี้ด้วยค่ะ  เขียนไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ชิง


ขบวนเกี้ยวหามเจ้าสาวในพิธีแต่งงานตามประเพณีของชาวจีนโบราณ






รูปนี้แสดงวัฒนธรรมการเขียนคำโคลงคู่  (写对联) ที่มีข้อความสิริมงคล


อักษรจีนแบบโบราณยุคราชวงศ์ฉิน เป็นแบบอักษรที่ใช้กันเมื่อ 2000 กว่าปีก่อน ( ก่อน ค.ศ. 221 ) ซึ่งยังคงความเป็นอักษรภาพอยู่มาก  ตอนนี้ร้านค้าในเมืองต่างๆ ของจีนกำลังย้อนยุคนิยมใช้แบบอักษรนี้ทำเป็นป้ายร้านดึงดูดลูกค้ามาถ่ายรูป



หยกชิ้นนี้เขาแกะสลักเป็นรูปเวทีการแสดงนะคะ  ของจริงไม่ใหญ่ค่ะ  นี่ถ่ายซูมเข้าก็เลยดูเหมือนชิ้นใหญ่ค่ะ ( เห็นคุณ Chailasalle คอมเม้นเรื่องเห็นเขาเอาหยกมาแกะสลักเป็นอาคารว่าน่าทึ่งมาก  ก็เลยโพสต์รูปนี้เพิ่มอีก 4 รูปค่ะ )







ที่เห็นในรูปนี้  เป็นรูปถ่ายหยกแกะสลักแบบละเอียดมาก  ของจริงอยู่ในส่วนที่เรียกว่า "เล่อโซ่วถัง"  พิพิธภัณฑ์พระราชวังกู้กง




นี่ก็เป็นรูปถ่ายเหมือนกัน  เป็นรูปแกะสลักเทพเทวดา  ของจริงอยู่ที่ " เจินเป่ากว่าน " ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังกู้กง  รูปนี้ต้องแหงนหน้าถ่าย  เพราะแขวนอยู่สูง




บันทึกภาพจากการไปค่ายกิจกรรมภาษาและวัฒนธรรมจีนที่กรุงปักกิ่ง เมษายน 2011

หมายเหตุ
" + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + "")); }" postmessage_send="function () { return eval(instance.CallFunction("" + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + "")); }" sendxdhttprequest="function () { return eval(instance.CallFunction("" + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + "")); }" setcache="function () { return eval(instance.CallFunction("" + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + "")); }" getcache="function () { return eval(instance.CallFunction("" + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + "")); }" setcachecontext="function () { return eval(instance.CallFunction("" + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + "")); }" clea
r
al "function () { return eval(instance.  CallFunction("" + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + "")); }"&ampgt
จากคอมเมนต์ของ คุณ BlueHill และคุณศุภฤกษ์  ผู้เขียนจึงไปหารูปจากเว็บไซต์ของ  CAPITAL MUSUEM เพิ่มเติม  ก็พบรูปสวยๆ อีกจำนวนมากที่ผู้เขียนไม่ได้ถ่ายไว้  สามารถดูได้จากลิงก์ข้างล่างนี้นะคะ

ภาพหุ่นจำลองและเครื่องปั้นดินเผา
ภาพประเพณีเก่าแก่ปักกิ่ง  ภาพสถาบัตยกรรมด้านที่อยู่อาศัย (京城旧事)

................................................................................................


Entry : All  ABOUT  BEIJING

北京 BEIJING (6) สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง 鸟巢 สนามกีฬารังนก สถาปัตยกรรมยุคใหม่



北京 BEIJING สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง (5) 天坛 - 世界文化遗产 เทียนฐาน TIANTAN



北京 BEIJING ปักกิ่ง (4)



北京 BEIJING สถานที่น่าสนใจในปักกิ่ง (3) BEIJING CAPITAL MUSEUM พิพิธภัณฑ์นครหลวงปักกิ่ง



北京 BEIJING สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง(2)前门 - 大栅栏 เฉียนเหมิน - ต้าซันหลัน QIANMEN - DA SHAN LAN



北京 BEIJING สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง(1) 前门 QIANMEN เฉียนเหมิน



................................................


 
08 - 02 - 2013 ได้รวมลิงก์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้อ "เจาะลึกปักกิ่ง"
ไว้ในเอนทรี่ข้างล่างนี้แล้ว 
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม  
facebook : Suwanna Future C
http://www.facebook.com/SuwannaFutureC?ref=hl




( ข้อเขียนทั้งหมดนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของสุวรรณา สนเที่ยง  ท่านใดต้องการนำไปเผยแพร่ต่อ หรือคัดลอกตอนใดตอนหนึ่ง ขอความกรุณาระบุที่มาและได้รับอนุญาตจากผู้เขียนก่อน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักจรรยาบรรณและบรรทัดฐานร่วมกัน )


โพสต์ครั้งแรกที่ OKnation Blog  August 31, 2011
http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2011/08/31/entry-2


Flag Counter

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น