วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บางคล้า (2) อุโบสถสีทอง ที่วัดปากน้ำโจ้โล้


สามชั่วโมงครึ่งในบางคล้า  ภาพบางคล้า

ต่อจากเอนทรี่ที่แล้ว เรื่อง

บางคล้า (1) ค้างคาวแม่ไก่ ที่วัดโพธิ์ บางคล้า ริมน้ำบางปะกง

http://suwannafc.blogspot.com/2014/02/1.html

วันตรุษจีน (31 มกราคม) ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปที่อำเภอบางคล้า เป็นครั้งแรก
มีเวลาอยู่ที่นั่นเพียงสั้นๆ 3  ชั่วโมงครึ่ง แต่ได้อะไรกลับมามากมาย

เดิมทีไม่ได้ตั้งใจจะไปเที่ยว แต่ตั้งใจจะไปเยี่ยมคารวะผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่นั่น

แต่เจ้าถิ่นได้กรุณาพาเราไปชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของตำบลบางคล้า  
และท่านเป็นคนที่ศึกษาและจดจำประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างละเอียด  
เราจึงได้ฟังเกร็ดเรื่องราวต่างๆ ซึ่งมีหลายเรื่องที่แตกต่างจากเรื่องเล่าที่เราเคยทราบและเคยเชื่อ  
เช่น เรื่องพระนเรศวรชอบไก่ จริงหรือไม่ ? 

การไปบางคล้าครั้งนี้  ทำให้เราได้รู้จักบางคล้าในแง่มุมของสถานที่สำคัญสมัยสงครามกู้ชาติเมื่อ 200 กว่าปีก่อน
จากการถ่ายทอดของเจ้าถิ่นท่านนี้  

นี่ถ้ามาบางคล้าแล้วไม่ได้เข้าใจความสำคัญของที่นี่ และไม่รู้เรื่องอะไรเลย ก็เหมือนไม่ได้มา


สถานที่แห่งหนึ่งที่ท่านพาเราไปชมเป็นแห่งที่สอง ต่อจาก วัดโพธิ์ บางคล้า ก็คือ

วัดปากน้ำ (โจ้โล้) 

เราไม่ทราบมาก่อนว่าวัดปากน้ำเป็นอย่างไร  แต่ทันทีที่เลี้ยวรถเข้าไปในวัด
ภาพที่เห็นข้างหน้าทำให้รู้สึกตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ


พระอุโบสถสีทองทั้งหลัง !   

  

 วัดนี้ เรียกกันว่า วัดโบสถ์สีทอง



 WAT PAKNAM TEMPLE , BANGKLA, CHACHOENGSAO, THAILAND

泰国北柳府, 离市区 25 公里。


 
 เวลาประมาณบ่าย 2 โมงครึ่ง แดดที่วัดร้อนมาก   
ไกด์กิติมศักดิ์แห่งอำเภอบางคล้าให้เราลงไปถ่ายรูป และ
สักการะศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินเพื่อเป็นสิริมงคลวันตรุษจีน 
พร้อมๆ กับเล่าประวัติความเป็นมาให้ฟัง
แดดจ้าแทงตาจนมองไม่เห็นว่าภาพที่ถ่ายนั้นชัดหรือไม่ เอียงหรือเปล่า เก็บได้ครบมั้ย
แต่ไม่รู้ล่ะ ขอถ่ายเก็บไว้ก่อน
นี่ถ้าไม่ได้ลงมาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ต้องเสียดายไปอีกนานเลยค่ะ  

 ภาพวัดปากน้ำ บางคล้า


 
       โบสถ์สีทอง หรือพระอุโบสถสีทอง  วัดปากน้ำโจ้โล้  
อ. บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นอุโบสถแห่งเดียวในประเทศไทยที่ทาสีทองทั้งหลัง
บริเวณที่ตั้งวัดปากน้ำโจ้โล้  ในอดีตบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของกองทัพพม่า
ซึ่งยกทัพบกทัพเรือมาสู้รบกับกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีชัยชนะทหารพม่า  จึงโปรดฯ ให้สร้างเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์  
อุโบสถสีทองทั้งหลังเป็นหลังที่สร้างขึ้นภายหลัง 



  



ภาพวัดปากน้ำ บางคล้า 





 วัดปากน้ำแห่งนี้  อยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง  เป็นจุดที่แม่น้ำบางปะกงบรรจบกับคลองท่าลาด

ด้านขวาของวัดมีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช - สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองของบางคล้า
ที่บางคล้า จะมีอนุสรณ์พระเจ้าตากสิน และ ศาลพระเจ้าตากสินตั้งอยู่หลายแห่ง






นี่เป็นภาพของศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในวัดโบสถ์สีทอง - วัดปากน้ำ  บางคล้า

泰国吞武里皇朝郑王庙(这座位于 Chachoengsao 府 PAKNAM 佛寺内)




การเดินทางไปบางคล้า 
ตอนที่ดิฉันไปอำเภอบางคล้า ก็ไปไม่ถูกค่ะ โทรไปถามที่ว่าการอำเภอบางคล้า
โชคดีเจอท่านปลัดอำเภอรับสายเอง ท่านอธิบายทางให้อย่างละเอียด
ต่อมาท่านนายอำเภอก็มาอธิบายเพิ่มเติมอีก
ดิฉันลงจากทางด่วนบูรพาวิถีที่บางปะกง - ฉะเชิงเทรา เลี้ยวเข้าถนนเส้นที่มุ่งหน้าฉะเชิงเทรา
ตรงไปจนถึง 3 แยกบายพาสเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา เลี้ยวขวา ไปตามทางหลวง 314 มุ่งหน้าพนมสารคาม
ข้ามแม่น้ำบางปะกง  เจอไฟแดงแยกแรกที่เลี้ยวเข้าเมืองฉะเชิงเทราให้ข้ามสะพานข้ามแยกตรงไปอีกประมาณ 18 ก.ม.
ถึงแยกไฟแดงที่สองนับจากสามแยกบายพาส  ให้เลี้ยวซ้ายไปตามป้ายบอกทาง "ตลาดน้ำบางคล้า"
ไปอีก 5 ก.ม. ถึงตัวเมืองบางคล้า จะพบอนุสาวรีย์พระเจ้าตาก  
ไปชมวัดปากน้ำโจ้โล้  เริ่มจากอนุสาวรีย์ฯ ไปทางเดียวกับไปสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน  
ไปตามทางเรื่อยๆ  ไม่ไกล ประมาณ 1 - 2 ก.ม. จะเจอทางเลี้ยวซ้ายเข้าสถูปเจดีย์ฯ ให้ตรงไปอีกประมาณไมี่กี่ร้อยเมตร
จะเจอโรงเรียนปากน้ำโจ้โล้และวัดปากน้ำโจ้โล้  
หรือเหมารถโดยสารท้องถิ่นจากตลาดน้ำบางคล้าก็ได้ 
(จากการคอมเมนท์ของเพื่อนๆ ดิฉันจึงขอนำภาพแผนที่มาเพิ่มไว้ค่ะ)
ภาพแรก ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์จังหวัดฉะเชิงเทราค่ะ
เมื่อเ้ดินทางถึง 4 แยกบางคล้า ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามทางอีก 5 ก.ม. ถึงอำเภอบางคล้าค่ะ
ภาพที่ 2 ขอบคุณแผนที่จากเว็บไซต์คุ้มวิมานดิน
ำขวัญบางคล้า 
บางปะกงคู่ชีวี   พระสถูปเจดีย์คู่ถิ่น  ศาลพระเจ้าตากสินคู่บ้าน
อาหารคาวหวานคู่เมือง   ลือเลื่องค้างคาววัดโพธิ์
หลังจากชมวัดปากน้ำแล้ว  เราก็ได้ไปชมสถูปเจดีย์พระเจ้าตากฯ ที่อยู่ตรงข้ามฝั่งคลองของวัดนี้ 
ขอเอาวีดีโอคลิปมาให้ดูก่อนนะคะ ส่วนเรื่อง จะตามมาเอนทรี่หน้าค่ะ 



ขอขอบคุณ
พื้นที่ของกูเกิล ที่ให้เราได้แบ่งปันประสบการณ์ค่ะ
  
Flag Counter


Flag Counter

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น