วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

北京 BEIJING (10) 颐和园 Summer Palace ตอน 2 เกร็ดประวัติศาสตร์จีน

深入北京、走进北京。 เจาะลึกปักกิ่ง

รวมภาพพระราชวังฤดูร้อน อี๋เหอเหยวียน หรือ อี๋เหอหยวน  
หนึ่งในมรดกโลกกรุงปักกิ่ง 
2011 และ 2012 ต่อจากเอนทรี่ที่แล้ว

 
Summer Palace Beijing, 
One of the world Heritage in Beijing
เที่ยวปักกิ่งแบบไปกันเอง  
北京颐和园 ---- 世界文化遗产之一


ประเทศที่มีอารยธรรม และมีประวัติศาสตร์ยาวนานทุกประเทศล้วนแต่มีและอนุรักษ์โบราณสถานต่างๆ เช่น พระราชวังซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ศูนย์กลางการเมืองการปกครองของชาติต่างๆ  ศาสนสถาน ฯลฯ  ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษากันทั้งสิ้น ไม่ว่าประวัติความเป็นมาจะเป็นอย่างไรก็ตาม  
เพราะถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ  อี๋เหอหยวน (พระราชวังฤดูร้อน) ก็เช่นกัน 


อี๋เหอหยวนได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก้ ให้เป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมตั้งแต่ปี 1997 


ทะเลสาบคุนหมิงที่อยู่ในอี๋เหอหยวน เดิมมีชื่อว่าทะเลสาบซีหู (ซึ่งเป็นการตั้งชื่อเลียนแบบทะเลสาบซีหูที่เมืองหังโจว)  ฮ่องเต้เฉียนหลงรับสั่งให้ใช้แรงงานมนุษย์ขุดขยายตั้งแต่ปี 1749 (自 1749 年起,乾隆下诏疏浚、开拓西湖。)เพื่อจัดงานฉลองวันพระราชสมภพแด่พระมารดาของพระองค์


พอมาถึงยุคที่พระนางซูสีไทเฮามีอำนาจ  ได้สร้างขยายและใช้วังแห่งนี้เป็นที่พักผ่อนรวมทั้งปรึกษาราชการ
บล็อกเกอร์ลูกเสือหมายเลข 9 ได้กรุณามาแสดงความเห็นโพสต์ไว้ในเอนทรี่ที่แล้วว่า
" .........การสร้างวังใหม่ของแต่ละรัชกาล  หมายถึงการสร้างอาณาจักรใหม่
ในอดีตเป็นเรื่องของการดูฤกษ์ยาม กระทั่งเวลาตกฟาก
ที่สำหรับองค์หนึ่ง..อาจจะไม่เหมาะกับอีกองค์หนึ่ง  ................... "
................................


ปี 1860 ทหารพันธมิตรอังกฤษและฝรั่งเศสบุกเข้าเมืองปักกิ่ง (เข้าปล้นชิงสมบัติมีค่าในพระราชวัง) และสั่งให้เผาพระตำหนักเหยวียนหมิงเหยวียน  รวมทั้งเผาอี๋เหอหยวนด้วย สมัยนั้นเรียกว่าอี๋ชิงหยวน 
1860 年(咸丰十年)九月,英法联军侵入北京,咸丰帝逃往承德避暑山庄。十月五日,联军占领海淀。十月十七日,联军司令额尔金下令放火焚烧圆明园。数日后,清漪园及三山五园的其他诸园均被焚毁。





1885 - 1894 พระนางซูสีไทเฮาเอางบประมาณทีใช้พัฒนากองทัพเรือมาบูรณะซ่อมแซมอี๋เหอหยวน จนเป็นเหตุให้การป้องกันประเทศขาดประสิทธิภาพ
1885 至 1894 年年间,慈禧太后以海军经费修复被毁的清漪园。


และเมื่อพระนางฯ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูปของฮ่องเต้กวางซวี่  พระราชวังแห่งนี้ก็กลายเป็น"คุก"ที่ใช้คุมขังฮ่องเต้กวางซวี่ (1889)
1898 年,光绪帝载湉宣布变法,实施新政。八月初六日,慈禧太后发动政变,变法失败,载湉被囚,慈禧再度垂帘听政。 


1900  พฤษภาคม กลุ่มอี้เหอถวนบุกเข้ากรุงปักกิ่งและเข้าล้อมสถานทูตต่างประเทศ  พระนางซูสีไทเฮาประกาศสงครามกับประเทศตะวันตก  สิงหาคมปีเดียวกัน  กองกำลัง 8 ชาติบุกเข้าปักกิ่ง และกองกำลังรัสเซีย อิตาลีเข้ายึดพระราชวังอี๋เหอหยวนวันที่ 15 สิงหาคม 1900  
1900 年,华北民间暴发义和团运动。五月,义和团进入北京,包围外国使馆。慈禧太后那拉氏以载湉的名义下诏向各国宣战。八月,八国联军兵临北京城,那拉氏与载湉逃往西安。八月十五日,沙俄,意大利军队相继进驻颐和园。

 

 การที่ทหารต่างชาติเข้ายึดจีนได้อย่างง่ายดาย  สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการที่กองทัพเรือของจีนซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการต่อสู้กับต่างชาติในสมัยนั้นขาดประสิทธิภาพเพราะถูกตัดงบประมาณ (เอามาบูรณะอี๋เหอหยวน)



1901  รัฐบาลของราชวงศ์ชิงต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับประเทศต่างๆ ที่บุกยึดปักกิ่ง  ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นสัญญาที่แบ่งกันยึดครองดินแดนสำคัญๆ ของจีน ( แบ่งเค้ก)  ซึ่งทำให้ชาวจีนต้องสูญเสียชีวิตจำนวนมากจากสงครามและการกู้ชาติในเวลาต่อมา 
1901 年,清廷与列强签订辛丑条约,联军退出北京。


1902  ทันทีที่กลับเมืองปักกิ่ง  พระนางซูสีไทเฮาก็ใช้งบประมาณมหาศาลในการซ่อมแซมบูรณะพระราชวังที่ถูกต่างชาติทำลายแห่งนี้ และใช้สถานที่นี้จัดงานฉลองวันเกิด 70 พรรษา  
1908  พระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์  ฮ่องเต้ปูยีขึ้นครองราชย์ขณะที่มีพระชนมายุ 3 พรรษา

1902 年,那拉氏与载湉返回北京,立即动用巨款修缮被联军破坏的颐和园。 

1904 年,那拉氏在颐和园举行七十寿辰的万寿庆典 

1908 年,载湉、那拉氏相继病死,三岁的溥仪继承皇位。 


หลังจากนั้น ชาวจีนผู้รักชาติทั้งในและนอกประเทศจีนได้จัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนนอกที่นำโดย ดร.ซุนยัตเซ็น (孙中山先生)เคลื่อนไหวต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ และกลุ่มของ ดร.ซุนยัตเซ็นสามารถยึดเมืองปักกิ่งได้ในปี 1911   สถาปนาประเทศจีนเป็นสาธารณรัฐ  ถือเป็นการสิ้นสุดยุคการปกครองของราชวงศ์ชิง (ซึ่งปกครองโดยชาวแมนจู) และสิ้นสุดการปกครองโดยฮ่องเต้  อำนาจการปกครองกลับคืนสู่มือชาวจีน (ชาวฮั่น)  



ประเทศจีนจึงถือว่า ปี 1911 เป็นปีสำคัญในการแบ่งช่วงประวัติศาสตร์  



นี่เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์จีนที่น่าเก็บรับเป็นอุทาหรณ์



ท่านบล็อกเกอร์ BlueHill  แห่งค่ายโอเคเนชั่น  ได้กรุณาโพสต์ความเห็นไว้ว่า 

**เรื่องราวในอดีตมีทั้งที่ควรจดจำและไม่ควรจดจำ
ที่ควรจดจำก็ช่วยกันศึกษาส่วนดีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
ที่ไม่ควรจดจำก็เรียนรู้ให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อป้องกันไม่ให้่เกิดขึ้นอีก
การศึกษาประวัติศาสตร์ จึงเป็นการทบทวนปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจอนาคต ครับ

.....................................................................



ต้นไม้อายุหลายร้อยปีในอุทยาน











ถ้าช่วงไหนประเทศจีนได้ผู้ปกครองที่ดี มีคุณธรรม มีหลักการปกครองดี ก็จะเป็นช่วงที่ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข เศรษฐกิจและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง
แต่ช่วงที่เป็นปลายราชวงศ์ชิงซึ่งปกครองโดยชาวแมนจู ( รวมถึงพระนางซูสีไทเฮา แมนจู เป็นชนเผ่าส่วนน้อยที่เข้ามาปกครองชาวจีน ไม่ใช่ชาวจีน) อำนาจถูกกุมอยู่ในมือของพระนางซูสีไทเฮาและพวกพ้องที่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว  จึงนำความหายนะมาสู่ชาวจีนในสมัยนั้น ราชวงศ์ชิงเป็นชนเผ่าหนึ่งที่รบเก่ง และบุกรุกแผ่นดินจีนโดยอาศัยการช่วยเหลือของคนจีนที่ขายชาติ  จึงอยากมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นอุทธาหรณ์  ถ้ามีคนขายชาติหรือชักศึกเข้าบ้าน 
ก็ไม่แน่เสมอไปว่าประเทศที่มีประชากรมากกว่าหลายเท่าจะถูกปกครองโดยคนชนชาติอื่นที่มีจำนวนน้อยกว่าไม่ได้

หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยวแบบศึกษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออก
หมายเหตุ 
สุวรรณา สนเที่ยง  ถอนความและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาจีนของเว็บไซต์ทางการของ Yi He Yuan  โดยมีการเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วน  

1860 (咸丰十年)九月,英法联军侵入北京,咸丰帝逃往承德避暑山庄。十月五日,联军占领海淀。十月十七日,联军司令额尔金下令放火焚烧圆明园。数日后,清漪园及“三山五园”的其他诸园均被焚毁。

1885 1894 年年间,慈禧太后以海军经费修复被毁的清漪园。
1888 年二月初一日以光绪帝载湉名义发布上谕,改“清漪园”之名为“颐和园”。

1898 ,光绪帝载湉宣布“变法”,实施“新政”。八月初六日,慈禧太后发动政变,变法失败,载湉被囚,慈禧再度垂帘听政。

1900 ,华北民间暴发义和团运动。五月,义和团进入北京,包围外国使馆。慈禧太后那拉氏以载湉的名义下诏向各国宣战。八月,八国联军兵临北京城,那拉氏与载湉逃往西安。八月十五日,沙俄,意大利军队相继进驻颐和园。

1901 ,清廷与列强签订“辛丑条约”,联军退出北京。

1902 ,那拉氏与载湉返回北京,立即动用巨款修缮被联军破坏的颐和园。

1904 ,那拉氏在颐和园举行七十寿辰的“万寿庆典”。

1908 ,载湉、那拉氏相继病死,三岁的溥仪继承皇位。

พระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวังฤดูร้อน
ราโชทยานในกรุงปักกิ่ง *
พระราชวังฤดูร้อน หรือ อี๋เหอหยวน (จีนตัวเต็ม: 頤和園; จีนตัวย่อ: 颐和园; พินอิน: Yíhé Yuán; Gardens of Nurtured Harmony) เป็นพระราชวังอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังหยวนหมิงหยวน ห่างจากพระราชวังต้องห้ามไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร
อี๋เหอหยวนมีพื้นที่ประมาณ 2.9 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเนินเขาสูง 60 เมตร มีพระตำหนักอยู่บนเนิน และทะเลสาบคุนหมิง มีเนื้อที่ประมาณ 2.2 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยทะเลสาบนี้เกิดจากการใช้แรงงานคน ขุดดินขึ้นไปถมเป็นเนินเขา สำหรับสร้างพระตำหนัก
อี๋เหอหยวนเริ่มก่อสร้างในสมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ. 1115 - 1234) โดยจักรพรรดิ Hailingwang เมื่อย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ปักกิ่ง และเป็น่ที่ประทับของจักรพรรดิราชวงศ์หยวน จนกระทั่งถึงรัชกาลของจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง ทรงบูรณะและสร้างพระตำหนักแห่งใหม่บนเนินเขา ในปี ค.ศ. 1749
พระราชวังฤดูร้อนพร้อมด้วยอุทยานอี๋เหอหยวนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "พระราชวังฤดูร้อนและอุทยานในกรุงปักกิ่ง" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 22 เมื่อปี พ.ศ. 2541 ที่เมืองเกียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยะธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว


หมายเหตุ
ข้อเขียนนี้โพสต์ครั้งแรก ที่ Permalink : http://www.oknation.net/blog/chineseclub

โดย เหล่าซือสุวรรณา

FB: https://www.facebook.com/SuwannaFutureC?ref=hl



Entry ที่เกี่ยวข้อง

北京 BEIJING (6) สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง 鸟巢 สนามกีฬารังนก สถาปัตยกรรมยุคใหม่



北京 BEIJING สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง (5) 天坛 - 世界文化遗产 เทียนฐาน TIANTAN



北京 BEIJING ปักกิ่ง (4)



北京 BEIJING สถานที่น่าสนใจในปักกิ่ง (3) BEIJING CAPITAL MUSEUM พิพิธภัณฑ์นครหลวงปักกิ่ง



北京 BEIJING สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง(2)前门 - 大栅栏 เฉียนเหมิน - ต้าซันหลัน QIANMEN - DA SHAN LAN



北京 BEIJING สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง(1)  前门 QIANMEN เฉียนเหมิน





08 - 02 - 2013 ได้รวมลิงก์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้อ "เจาะลึกปักกิ่ง" ไว้ในเอนทรี่ข้างล่างนี้แล้ว





Flag Counter


เบตง (3) อุโมงค์หลบภัย หมู่บ้านปิยะมิตร 勿洞 : 友谊村地道 MALAYA COMMUNIST'S TUNNEL, BETONG



เบตง อุโมงค์หลบภัยทางอากาศ  ร่องรอยการสู้รบในอดีต
แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของเบตง
勿洞 :  友谊村地道 
PIYAMIT TUNNEL , MALAYA COMMUNIST'S BASE, BETONG,YALA, THAILAND



เป็นบันทึกการเดินทางไปเบตงช่วงปีใหม่ของปีที่แล้ว 29 ธันวาคม 2012

  แม้จะผ่านมาแล้ว 1 ปี และกลายเป็นเรื่องข้ามปีไปแล้ว

แต่เข้าใจว่ามีคนไทยมาเยือนที่นี่ไม่มากนัก

   จึงยังอยากจะนำภาพบรรยากาศ  สถานที่ต่างๆ  ของเบตงมาเก็บไว้

     เอนทรี่นี้ต่อจากเอนทรี่ก่อนหน้า  


 
    ชมสวนดอกไม้เมืองหนาวแล้ว ไกด์กิตติมศักดิ์เจ้าถิ่นคนเบตงขับรถปิคอัพพาเราขึ้นเขาไปอีก 7 ก.ม.
ไปชม อุโมงค์ปิยะมิตร ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของเบตง 

เส้นทางขึ้นเขาคดเคี้ยว ชัน แต่สวยงามและเป็นธรรมชาติมาก






ก่อนอื่น ก็ต้องหาอาหารใส่ท้องกันก่อน  ทริปเราเน้นกิน เที่ยวอุโมงค์เป็นรอง
อยากบอกว่า  ติดใจอาหารที่นี่มากๆ   



ที่นี่มีร้านอาหาร 2 ร้าน จะเลือกทานร้านไหนก็ได้  เราเลือกทานที่ร้านนี้ 山溪小馆 
แปลว่า ร้านเล็กริมธาร  เขาไม่ได้ตั้งชื่อไทยและชื่ออังกฤษไว้  ดิฉันตั้งชื่อไทยให้เสียเลย

ข้างร้านมีธารน้ำไหลผ่้าน มองไปด้านหน้าคือทิวเขา บรรยากาศดีมากๆ 


เจ้าของร้านผู้หญิง เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่อดีตเคยเป็นกองกำลังที่อยู่แถบนี้
เจ้าของร้านและบริกรทุกร้านที่นี่  จะพูดได้หลายภาษา และใช้ภาษาจีนกลางเป็นหลัก
ร้านนี้เจ้าของเป็นชาวจีนฮากกา และอาหารที่นี่ก็เป็นอาหารต้นตำรับจีนฮากกา

ที่นี่  เราสั่งอาหารด้วยภาษาไทย จีนกลาง จีนฮากกา ปนกันไปหมด

แต่แอบมองดูกระดาษในมือเขาว่าเราสั่งอะไรไปบ้าง  เถ้าแก่เนี้ยเขาจดเป็นภาษาจีนน่ะ


อาหารมาแล้ว จานแรกก็ผัดผักน้ำ ผักที่ขึ้นชื่อของเบตง  

ภาษาจีนเรียกว่า 西洋菜 

 จีนฮากกาออกเสียงว่า " ซีหย่องช้อย "  

คนแต้จิ๋วออกเสียงว่า " ไซเอี่ยฉ่าย "

คนกวางตุ้งก็ออกเสียงว่า "ไซ้หย่องชอย "
มีขายที่เยาวราช ตลาดสามย่าน และแหล่งคนจีน
ผักชนิดนี้ขึ้นในน้ำ ใช้ผัดกะปิก็ได้  ผัดน้ำมันหอยก็อร่อย แกงจืดก็หวาน
มีมากในประเทศมาเลเซีย




 ผักกูด ถ่ายไว้ตอนเดินเข้าร้าน เห็นเขากำลังเด็ดผักกูดกันอยู่ งามมากๆ เด็ดมาจากริมธารแถวนั้นมั้ง
เพราะอากาศบนเขาเย็น มีธารน้ำ เหมาะกับการเจริญเติบโตของผักชนิดนี้ 



จานนี้ ผักกูด ตอนผัดเสร็จเตรียมเข้าท้องแ้ล้ว



扣肉  โค่วโย่ว   คับบะ  ที่คนฮากกา เรียกว่า แค้วหยุก  กวางตุ้งเรียกว่า เคาหยก ที่มีเนื้อหมูกับเผือกสลับกัน
เป็นตำรับอาหารของคนจีนฮากกาขนานแท้   ที่นี่ปรุงโดยคนฮากกา



และนี่ค่ะ ไก่สับสูตรเบตง ที่เรียกกันว่า ไก่เบตง ชื่อดัง  
และ สะตอกุ้งผัดกะปิ  
โอ้ มาลงรูปไป คิดถึงรสชาติอาหารไป
สงสัยต้องหาเรื่องกลับไปอีกรอบ



ทั้งหมด ทานไป 800 กว่าบาท  ผู้ใหญ่ 8 เด็ก 1  คุ้มสุดยอด
อิ่มท้องแล้วก็เตรียมกำลังเดินขึ้นเขาไปดูอุโมค์ได้แล้ว

ค่าเข้าชมอุโมงค์  คนไทย 30 บาท

 

ข้อความจากป้ายที่เขาติดไว้เป็นภาษาอังกฤษและไทย
บอกเล่าความเป็นมากันหน่อย  
สมัยก่อนจะมีกลุ่มคอมมิวนิสต์มาลายา ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธสู้รบกับรัฐบาลมาเลเซีย แล้วหนึเข้ามาหลบซ่อนอยู่ที่ตะเข็บชายแดนไทย-มาเลเซียในเทือกเขาสันกาลาคีรี อ. เบตง  จ. ยะลา
ต่อมากองกำลังเหล่านี้ได้ยอมวางอาวุธลง  เป็น "ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย"  ส่วนหนึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินให้ ส่วนหนึ่งได้รับการส่งเสริมอาชีพให้ทำสวนหมื่นบุปผา ปลูกพืชเมืองหนาวขาย  ส่วนหนึ่งก็มาทำอุโมงค์เป็นแหล่งท่องเที่ยว - ทำร้านอาหาร     
อุโมงค์ปิยะมิตร เป็นอุโมงค์ที่อยู่บนสันเขา  ขุดขึ้นโดยกลุ่มคอมมิวนิสต์มาลายาเมื่อประมาณหลายสิบปีก่อน

ป้ายข้อความเขียนไว้ว่า
อุโมงค์ปิยะมิตร  เป็นร่องรอยการสู้รบของคอมมิวนิสต์มาลายาใช้เป็นฐานปฏิบัติการเพื่อหลบภัยทางอากาศ และสะสมเสบียง โดยฐานยุทธภูิมินี้ อยูบนเนินเขาปกคลุมด้วยป่าทึบบริเวณตะเข็บแนวชายแดนไทยและมาเลเซียในพื้นที่จังหวัดยะลา อุโมงค์ปิยะมิตรสร้างเมื่อ ปี พ.ศ.2520  มีความยาวประมาณ 1 ก.ม.  กว้างประมาณ 5 - 6 ฟุต ใช้กำลังขุดประมาณ 50 คน  ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน  มีทางเข้าออก 9 ทาง


 PIYAMIT TUNNEL , MALAYA COMMUNIST'S BASE, BETONG,YALA, THAILAND

 
   
 ซื้อบัตรเสร็จ เข้าทางนี้ 


 เส้นทางที่เดินผ่าน  ยังเป็นธรรมชาติมาก  ทีเห็นเป็นกระบอกไม้ไผ่ส่งน้ำจากลำธารต่อเข้าไปที่บ้านหรือร้านอาหาร


อยู่ที่เทือกเขาสันกาลาคีรีนะคะ กั้นชายแดนไทย - มาเลเซียค่ะ 


ต้นไม้ใหญ่มากๆ อายุน่าจะหลายร้อยปี 

  
 เตาและครัว



  

  
ปากทางเข้าอุโมงค์


ในอุโมงค์  ขึ้นๆ ลงๆ   ข้างในแสงไม่พอ ถ่ายรูปไม่ค่อยได้  อากาศอับ
  



ห้องทำงานใต้ดิน  地下工作室



  





ถึงปากทางออกแล้ว  เดินอยู่ตั้งนาน  อยู่ข้างในมองไม่เห็นข้างนอกเลย






 ด้านนอกอุโมงค์ ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์







 






  







 






 






 
  
  
เรื่องอุโมงค์ประวัติศาตร์จบแล้ว  แต่เรื่องราวของเบตงยังไม่จบค่ะ 

.............................


เดินทางหมื่นลี้ กับ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม 行万里路  和  读万卷书
เก็บความสุข ความรู้ และประสบการณ์ จากการเดินทาง
 

ท่านที่สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้  อ่านได้ในบล็อกของ ท่านบล็อกเกอร์ศณีรา

บันทึกประวิตศาสตร์คอมมิวนิสต์มาลายา (ต้อนรับ AEC)
http://www.oknation.net/blog/localbetong/2013/09/08/entry-1

ข้อมูลเพิ่มเติม

อำเภอเบตง จ.ยะลา  ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาสันกาลาคีรี
  
มีลักษณะคล้ายหัวหอกพุ่งไปอยู่ในดินแดนประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่เป็นที่ราบสูงเนินเขา ลุ่มน้ำ
สภาพของเมืองเบตงตั้งอยู่ในหุบเขา มีลักษณะเหมือนแอ่งกระทะที่โอบล้อมด้วยหุบเขาน้อยใหญ่
พื้นที่ทั่วไปสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,900 ฟุต
ตัวเมืองเบตงอยู่ห่างจากด่านชายแดนเบตงเป็นระยะทาง 7 กิโลเมตร
เป็นเมืองที่มีความสำคัญด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า
เป็นเมืองหน้าด่านที่จะนำสินค้าเข้าออกไปยังท่าเรือน้ำลึกปีนังของมาเลเซีย
........................................................
ขอขอบคุณ กูเกิลบล็อก ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่

.............................................
ขอเพิ่มเติมความคิดเห็นจากท่านบล็อกเกอร์ทางแก้ว
ขอบคุณมากค่ะ


ทางแก้ว 
http://www.oknation.net/blog/faab 
ภาพนำทาง
สมัยก่อนพรมแดนไทยมาเลย์ตรงนี้รบกันดุเดือด
ต่อต้านรัฐบาลกลาง พอถอยหลังมาดู
เดี๋ยวนี้พอเข้าใจว่าแต่ก่อนนั้นเขารบกันทำไม
ขนาดเราเห็นปัจจุบันนี้เห็นการกุมสื่อสารข้างเดียว
ทำให้คนไขว้เขว และบิดเบือน
สมัยก่อนคอมมูนิสต์เหมือนเป็นปีศาจเลย
แรงของการสื่อสารทั้งสิ้น

 


Flag Counter


Flag Counter