วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บางคล้า (3) สถูปเจดีย์ อนุสรณ์สู้รบของกองทหารพระเจ้าตากสินกับทัพพม่าเมื่อ 200 กว่าปีก่อน


 ไปยืนอยู่ ณ จุดสู้รบในอดีตเมื่อ 200 กว่าปีก่อนที่ชี้ขาดประวัติศาสตร์ไทย

ดิฉันใช้หัวเรื่องแบบนี้ ไม่ทราบว่าจะได้หรือเปล่า แต่รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ

(ท่านผู้รู้ประวัติศาสตร์กรุณาช่วยเพิ่มเติมด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ )

...............................................

3 ชั่วโมงครึ่งในบางคล้า

ต่อจากเรื่องที่แล้ว


หลังจากชมอุโบสถสีทองทั้งหลังที่ตื่นตาและัสักการะศาลสมเด็จพระเ้จ้าตากสิน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองแล้ว
ท่านไกด์กิติมศักดิ์ก็พาเรามาที่ฝั่งตรงข้ามคลองท่าลาดซึ่งห่างจากวัดปากน้ำแค่นิดเีดียว 

ไปชม สถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน


ท่านเล่าประวัติความเป็นมาของที่นี่ให้ฟัง  
ทำให้รู้สึกเหมือนไปทัศนศึกษาและฟังคำบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญเลยทีเดียว

เกร็ดความรู้ประวัติศาตร์  เมื่อได้คนเล่าดีๆ   ก็กลายเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก
ทำให้เรารู้ที่มาที่ไป  รู้รากเหง้า 

จุดที่เรากำลังยืนอยู่นี้ ณ สถูปเจดีย์พระเจ้าตาก  

จุดที่เคยมีเลือดหลั่งโลมดินและแทรกซึมอยู่ในเนื้อดิน กลายเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ให้คนรุ่นต่อมา

ที่นี่เคยมีการสูญเสียชีวิตจำนวนมากทั้งที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร 

เป็นจุดที่มีความสำคัญชี้ขาดประวัติศาสตร์ชาติไทยสมัยเสียกรุงครั้งที่สอง ประมาณปี พ.ศ. 2310

ที่ว่า เป็นจุดชี้ขาดประวัติศาสตร์
ก็เพราะเป็นจุดที่กองทัพพม่าไล่ติดตามกองทัพพระเจ้าตากที่พาทหารตีฝ่าวงล้อมหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา
พม่ายกกำลังมาทั้งทางน้ำและทางบก  ตามไล่มาถึงจุดนี้  รบกันดุเดือด  
ทหารพม่าเสียหายอย่างหนัก  ทหารไทยก็สละชีพไปมาก  ฝ่ายพระเจ้าตากชนะการรบ

หลังจากการรบครั้งนั้นแล้ว  พม่าก็ไม่ได้ส่งทหารตามไล่กองทัพพระเจ้าตากอีก
 
พระเจ้าตากจึงสามารถนำทัพเดินทางต่อไปยังเมืองจันท์  และรวบรวมพลกลับมากู้ชาติไทยได้ในเวลาต่อมา

แต่ถ้าการรบที่นี่เมื่อ 200 กว่าปีก่อน  ฝ่ายทัพพระเจ้าตากเป็นฝ่ายแพ้และเสียสละทั้งหมด  
ประวัติศาสตร์ไทยก็ไม่ใช่อย่างทุกวันนี้แน่นอน  

(เรื่องนี้ เป็นความรู้ใหม่ของดิฉันที่ได้จากการไปบางคล้าครั้งนี้ค่ะ)

ที่บางคล้า  จึงมีศาลพระเจ้าตากสินอยู่หลายแห่ง ดังคำขวัญของเมืองนี้ ที่ว่า


บางปะกงคู่ชีวี   พระสถูปเจดีย์คู่ถิ่น  ศาลพระเจ้าตากสินคู่บ้าน
อาหารคาวหวานคู่เมือง   ลือเลื่องค้างคาววัดโพธิ์ 







เจดีย์อนุสรณ์สถานเดิม ที่พระเจ้าตากทรงโปรดให้สร้างขึ้นหลังขึ้นครองราชย์
เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับการสู้รบครั้งนั้นและนักรบที่เสียสละ 
ได้ถูกกระแสน้ำกัดเซาะพังทลายลงน้ำไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2491   
มีการสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี 2543  ณ จุดเดิม
จุดที่ตั้ง อยู่ที่ บริเวณปากน้ำโจ้โล้ปัจจุบัน  คือ ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 
อนุสรณ์ในการสู้รบครั้งนั้น มีชื่อเต็มว่า  อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 ตอนแรก ดิฉันก็ถามไปตามที่ไม่รู้ ว่า " ทำไมบางคล้านี่ถึงมีศาลพระเจ้าตากหลายที่คะ ? "
ท่านก็เลยพามาอ่านตรงป้ายข้างบนนี้ 


พาเดินเข้าไปชมใกล้ๆ 



  


Chachoengsao 府 Bangkla 县的泰国吞武里皇朝郑王纪念塔。

设塔的地点曾是郑王军击败缅甸军的历史遗址。



ฉากหลังที่เห็นคืออุโบสถสีทอง วัดปากน้ำโจ้โล้ (จากเอนทรี่ตอนที่แล้วค่ะ)



วันที่เราไป อากาศดีมาก แดดจ้า ถ่ายรูปออกมาท้องฟ้าเป็นสีน้ำเงินเข้ม 
 


ชอบใจปืนใหญ่กระบอกนี้ ทำจากท่อพีวีซีค่ะ



   

 จุดนี้ เป็นจุดแยกของแม่น้ำบางปะกง กับ คลองท่าลาด


 บรรยากาศร่มรื่น สงบ  แต่เมื่อนึกย้อนภาพสู้รบในอดีต ........เมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน  
หนีการไล่ล่าของทัพพม่า  ไม่มีบ้า่น  ไม่มีไฟ  ขาดแคลนอาหาร  ไม่มียารักษาโรค  
เหล่านักรบพลีชีพ.... ณ จุดนี้
ให้เราต่อมาเรามีแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ได้อยู่อาศัยอย่างมีความสุข  มีละครดู ... ไม่เฉพาะที่บางคล้านี่  
ทำให้นึกถึงบุญคุณของพวกท่านเหล่านั้นขึ้นมาอย่างจับใจ
กลับมาแล้วรู้สึกว่าอยากเขียนเรื่องนี้มากๆ 

 ปัจจุบันบางคล้าเป็นดินแดนอุดมสมบูรณ์  เศรษฐกิจดี
ชาวบางคล้าจึงได้เคารพและสำนึกบุญคุณของกองทัพพระเจ้าตากสินมหาราชและผู้พลีชีพกู้บ้านกู้เมืองทุกท่าน
จึงได้สร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าตากไว้ตรงทางเข้าเมืองบางคล้า
และ สร้างศาลพระเจ้าตากไว้หลายแห่งไว้คู่เมือง 


นี่คือภาพฝั่งแม่้น้ำบางปะกงที่ไหลออกสู่ทะเล



และนี่คือฝั่งคลองท่าลาด

 
 เราไปวันศุกร์ นักท่องเที่ยวจึงมีไม่มาก


ขอบพระคุณท่านนายอำเภอพรเลิศ โชคชัย 
อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 
                

ขอบคุณแผนที่เดินทาง จากเว็บไซต์ จังหวัดฉะเชิงเทรา


ข้อมูลเพิ่มเติม จากเว็บไซต์เทศบาลบางคล้า
คณะกรรมการฯ ชุดค้นหาประวัติบางคล้าในเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า พระเจ้าตากสินมหาราช มีความเกี่ยวเนื่องกับภูมิประเทศ ที่ตั้งอำเภอบางคล้าอย่างยิ่ง 
          โดยสรุป ประมาณ พ.ศ. ๒๓๑๐ พระองค์ท่านได้ฝ่าวงล้อมของข้าศึกที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาออกทางทิศตะวันตก มุ่งตรงปราจีนบุรี และหยุดรวมพลอยู่ ณ รอยต่อจังหวัดปราจีนยุรีกับฉะเชิงเทรา(เข้าใจว่าเป็นบริเวณศรีมหาโพธิ์ปัจจุบัน) และข้าศึกได้ส่งกองทัพเรือออกสกัดกั้นมาตั้งมั่นรบพระองค์อยู่ที่ปากน้ำโจ้โล้บางคล้า (ที่ตั้งพระสถูปเจดีย์ปัจจุบัน)  พร้อมส่งทหารหน่อยสอบแนม กองโจร เข้าจู่โจมขึ้นมาบริเวณที่พระองค์ตั้งรับ ปรากกฏว่าข้าศึกถูกฆ่าตายสิ้นกระทั่งพระองค์เห็นว่าข้าศึกอ่อนแรงแล้ว จึงเคลื่อนทัพตีที่มั่นบริเวณปากน้ำโจ้โล้จนได้รับชัยชนะ จากนั้นจึงพักรวบรวมพลอีกครั้งหนึ่ง (เข้าใจว่าวัดโพธิ์บางคล้าเป็นที่พัก สันนิษฐานจากพระอุโบสถเก่าที่รื้อไปแล้วเป็นสถาปัตยกรรมจีน ที่พระองค์สร้างไว้ เป็นอนุสรณ์ในภายหลัง) และออกเดินทางนำทัพผ่านท่าทองหลาง (ต.ท่าทองหลางปัจจุบัน) ตรงไปยังบางปลาสร้อยชลบุรีถึงระยอง เจ้าเมืองระยองสวามิภักดิ์ได้ไพร่พลมากขึ้น เคลื่อนทัพเข้าตีเมืองจันทบุรีได้ และตั้งมั่นรวบรวมกำลังสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อกอบกู้เอกราชในเวลาต่อมา
          จะเห็นได้ว่าบริเวณปากน้ำโจ้โล้ที่กองทัพข้าศึกแตกพ่าย และบริเวณรวบรวมพลเดินทัพมุ่งผ่านท่าทองหลาง อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางคล้าพื้นที่แห่งนี้จึงเป็นเสี้ยวหนึ่งของการกู้ชาติบ้านเมือง ชุมชนดั้งเดิมอันเป็นบรรพบุรุษที่นี้ ต้องมีส่วนเข้าร่วมขบวนกู้ชาติกู้แผ่นดินอย่างแน่นอน คณะกรรมการฯ ชุดสร้างศาลอนุสาวรีย์ จึงให้รวมพลังทุกๆ ฝ่ายร่วมกันจัดสร้างศาลอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชขึ้น ณ บริเวณทางเข้าเมืองบางคล้า เป็นพระรูปทรงม้าศึกในอิริยาบถกำลังออกเดินทางผ่านท่าทองหลวง ตามประวัติศาสตร์ที่กล่าวไว้
          สร้างเสร็จเมื่อธันวาคม 2531


ส่วนภาพล่าง อาหาร อร่อย ของบางคล้า กุ้งแม่น้ำตัวใหญ่มากค่ะ (เจ้าถิ่นพาเราไปทาน ตอนหน้านะคะ) 

 

ขอขอบคุณพื้นที่ของกูเกิล
ที่ให้โอกาสในการแบ่งปันประสบการณ์



Flag Counter


Flag Counter

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น