วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

เจาะลึกปักกิ่ง ตอน 19 น้ำท่วมปักกิ่งที่เร็วและแรงที่สุดใน 61 ปี เก็บรับบทเรียนของจีนไว้ป้องกัน กทม.



เรื่องนี้อยู่ในซีรีส์ ชุด เจาะลึกปักกิ่ง  (ตอนที่ 19)
โพสต์ครั้งแรกที่ OKnation Blog วันที่ 24 กรกฎาคม 2012 (2555)
 http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2012/07/24/entry-3

น้ำท่วมฉับพลันกรุงปักกิ่งจมภายใน 3 ชั่วโมง  21 กรกฎาคม 2012  เลวร้ายที่สุดในรอบ 61 ปี
รวบรวมภาพ แปลและเรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง
จากเว็บไซต์ต่างๆ ของจีน
..................................................

อยากให้พวกเราเห็นภาพว่าสภาพกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงใหญ่ประชากร 20 ล้านพังยับเยินและเสียหายขนาดไหน
ดิฉันจึงใช้เวลาในการหาภาพจากเว็บไซต์ต่างๆ ของจีนตั้งแต่เมื่อคืนนำมาโพสต์ไว้  

อยากให้ผู้มีความรู้ความสามารถเก็บรับบทเรียนของเขารีบทำการหาทางป้องกัน กทม. ของเรา  เช่น งานลอกท่อ งานวางท่อระบายน้ำ  การแจ้งเตือนภัย และอื่นๆ ที่สติปัญญาอย่างดิฉันคิดไม่ออก  เพราะเราไม่รู้ว่าภัยพิบัติจะมาถึงเราหรือไม่  
..
วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2012  ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
เมืองที่เป็นมหานครและเมืองหลวงของจีน เวลาประมาณ 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ได้เกิดพายุฝนถล่มอย่างหนัก 
แค่ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อมา ก็เกิดน้ำท่วมฉับพลันที่รุนแรงมากเกินคาดหมาย 

สิ่งก่อสร้างพังเนื่องจากลมพายุที่พัดแรงมาก  ถนนหลายสายถูกตัดขาด  บางจุดมีระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร  บางจุดน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนสูงกว่า 1 เมตร 70 ซม.

ตัวเลขผู้เสียชีวิตตามที่ทางการจีนประกาศในเช้าวันที่ 22 กรกฎาคม มี 37 ราย

เป็นหัวหน้าสถานีตำรวจที่เข้าช่วยเหลือประชาชน 1 คน  ไฟดูด 5 คน และฟ้าผ่า 1 คน
มีจำนวนหนึ่งเสียชีวิตจากการจมน้ำ

รวมถึงมีคนจมน้ำเสียชีวิตในรถที่ถูกท่วมอยู่กลางถนนเนื่องจากประตูรถล็อคหนีออกจากรถไม่ได้

สนามบินนานาชาติปักกิ่งต้องประกาศยกเลิกเที่ยวบินกว่า 475 เที่ยว  เนื่องจากน้ำท่วมรางรถไฟขนส่งผู้โดยสารภายในสนามบินและลานบิน ผู้โดยสารตกค้าง 80000 กว่าคน

จนกระทั่งถึงขณะนี้ (24 กรกฎาคม 2012) ยังมีข่าวว่าพบคนเสียชีวิตและสูญหายเพิ่มขึ้น
ชาวปักกิ่งต่างแสดงความเห็นตำหนิเทศบาลเมืองปักกิ่งว่าระบบระบายน้ำล้าสมัยและการจัดการน้ำไม่ดี
............................................
ตามข่าวแจ้งว่า ปักกิ่งมีอากาศร้อนอบอ้าวมาหลายวันแล้ว
วันที่ 21 กรกฎาคม 2012 เวลา 06.00 น. (ก่อนพายุจะถล่มประมาณ 7 ชั่วโมง)
กรมอุตุนิยมของจีนได้ออกประกาศแจ้งเตือนว่าช่วงบ่ายวันเดียวกันปักกิ่งจะเกิดพายุฝน ให้ชาวเมืองเพิ่มความระมัดระวัง
ข่าวแจ้งว่าตอนนั้นคนปักกิ่งก็รู้สึกว่าฝนตกลงมาบ้างก็ดีอากาศจะได้เย็นลงเพราะร้อนจัดมาหลายวันแล้ว
ต่อมาเวลาประมาณ 13.00 น. เมฆดำปกคลุมท้องฟ้าเหนือกรุงปักกิ่ง  รถที่สัญจรไปมาต้องเปิดไฟหน้ารถเหมือนตอนกลางคืน  แล้วฝนก็กระหน่ำลงมาอย่างหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง
.......
ภาพแรก เป็นภาพที่นักข่าวของสำนักข่าวซินฮว๋าถ่ายไว้เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงปักกิ่ง (เวลาบ้านเราประมาณ 13.30 น.)  จะเห็นว่าท้องฟ้ามืดเหมือนตอนกลางคืน
ภาพข่าวจาก http://roll.sohu.com/20120721/n348714885.shtml.

【关注强降雨】强降雨横扫北方地区 暴雨蓝色预警持续
7 月 21 日 14 时 30 分左右,北京建国路大望桥附近,车辆打开车灯行驶。当日下午13时左右,北京突降大雨,顿时白昼如夜,车辆纷纷打开车灯行驶。北京市气象台 21 日 6时发布预报称,北京 21 日午后到夜间有暴雨,西南部东北部有大暴雨,并伴有雷电,希望市民注意防雨防灾。新华社记者罗晓光摄
และภายในเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงต่อมา  ทั่วทั้งเมืองปักกิ่งก็จมอยู่ใต้น้ำ  โดยที่ผู้คนยังไม่ทันเดินทางกลับเข้าที่พัก  
ภาพต่อมาเป็นภาพ ระดับน้ำที่ท่วมบริเวณสะพานลอยข้ามแยกเหลียนฮวา (莲花桥下) กรุงปักกิ่ง วันที่ 21 กรกฎาคม บ่าย
หน่วยกู้ภัยพยายามจะช่วยคนที่ติดอยู่ในรถจนถึงมืด  พอถึงตอนค่ำระดับน้ำยิ่งเพิ่มสูงขึ้น  สังเกตได้จากหลังคารถที่จมอยู่
ภาพจาก http://news.xinhuanet.com/2012-07/22/c_112497488.htm
..

(生态)(1)北京市气象台发布暴雨橙色预警

北京暴雨 61 年来最大
 7月21日,在北京市莲花桥,一辆汽车即将被雨水淹没。当日,北京遭遇强降雨。18 时 30分,北京市气象台发布暴雨橙色预警。 新华社发(万象 摄)
http://news.xinhuanet.com/2012-07/22/c_112497488.htm

北京市气象局气候中心主任郭文利22日零时56分对新华社记者表示,截至21日22时,北京20个国家气候观测站的平均降水量为163.7毫米,这是北京自1951



 000



暴雨使得下水道内的水溢上地面。ภาพที่น้ำผุดขึ้นมาจากท่อในกรุงปักกิ่งวันที่ 21 กรกฎาคม
 于 2012-7-23 13:25:07 发布在 凯迪社区 > 猫眼看人
http://club.kdnet.net/dispbbs.asp?page=1&boardid=1&id=8487117
ส่วนภาพล่างนี้  เป็นภาพระบบท่อระบายน้ำออกจากสถานีรถไฟใต้ดินกรุงปักกิ่ง
ไม่รู้ว่ารถไฟใต้ดินของเรามีอย่างนี้หรือเปล่า  แต่เห็นแล้วเสียว
จะสอนลูกว่าอย่าไปซื้อคอนโดที่ติดกับรถไฟใต้ดิน  เวลาเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมจะหนีออกมาไม่ได้
รูปท้ายๆ ในเอนทรี่นี้จะช่วยให้เห็นภาพว่าเวลาน้ำไหลลงสถานีรถไฟใต้ดินแรง
คนที่ติดอยู่ใต้ดินจะฝ่ากระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวจากที่สูงชันหนีขึ้นมาบนดินได้ยาก
....



http://club.kdnet.net/dispbbs.asp?page=1&boardid=1&id=8487117
ภาพล่างเป็นภาพที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของจีน  อ้างว่าเป็นภาพความเสียหายในกรุงปักกิ่งที่ทางการจีนและสำนักข่าวต่างๆ ไม่ได้เผยแพร่  ดิฉันก็เลยเอามาโพสต์ให้ดูเป็นอุทาหรณ์
..........
23 กรกฏาคม 2012 
แทบไม่น่าเชื่อว่าภายในชั่วค่ำคืนเดียว  กระแสน้ำได้ก่อความเสียหายให้กับปักกิ่งได้รุนแรงขนาดนี้
คิดไม่ถึงว่าถนน บ้านเมืองที่ดิฉันเพิ่งไปถ่ายรูปกลับมาเมื่อสองเดือนก่อนและก็ยังอัพบล็อกเขียนเรื่องเที่ยวปักกิ่งแบบไปเองไม่จบ  จะกลายเป็นอย่างนี้ไป
ลูกศิษย์ดิฉันบางคนเพิ่งเดินทางออกจากปักกิ่งกลับเมืองไทยเมื่อวันที่ 18 และ 19 กรกฎาคมนี่เอง
คือเดินทางกลับมาก่อนเกิดเหตุแค่สองวัน  พวกเขาบอกว่าไม่น่าเชื่อเลย ไม่มีวี่แววเลย  เห็นข่าวเห็นภาพแล้วงง
.  
นับว่าในเหตุการณ์น้ำท่วมปักกิ่งที่เลวร้ายรุนแรงที่สุดในรอบ 61 ปีที่เกิดขึ้นครั้งนี้  ยังมีความโชคดีอยู่บ้าง  เพราะอยู่ในช่วงปิดเทอมของประเทศจีน
เด็กนักเรียนไม่ได้ไปโรงเรียน  นักศึกษาต่างจังหวัดและนักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่เดินทางออกจากปักกิ่งไปแล้ว ไม่เช่นนั้นอาจมีผู้เสียชีวิตมากกว่านี้

ก่อนที่จะเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ฉับพลันที่ปักกิ่ง ก็เกิดเหตุการณ์คล้ายกันที่ญี๋ป่น  รัสเซีย ฯ

มันจะเป็นสิ่งบอกเหตุเตือนถึงภัยพิบัติอะไรหรือไม่  และถ้าเกิดมันมาถึงเมืองไทยล่ะ

เรา..โดยเฉพาะ กทม. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเมืองหลวงของเราได้มีการเตรียมพร้อมรับมือป้องกันความเสียหายอะไรบ้างหรือยัง

ขนาดปีที่แล้วเรามีเวลาเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมเป็นเดือน  ถ้ากรุงเทพฯ เจอฝน 1000 ปี (เมื่อปี 2537 ตามที่ผู้ว่าจำลองประกาศตอนนั้น) กทม. จะเอาอยู่มั๊ย (ปีหน้าจะเลือกตั้งผู้ว่าใหม่อีกแล้ว ตุลาคมปีที่แล้วดิฉันเห็นผู้อำนวยการเขตท่านหนึ่งแถวฝั่งธนฯ ให้สัมภาษณ์ช่วงน้ำท่วมบางบัวทองถึงเรื่องขุดลอกคลองขจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำว่า "ยังไม่ได้ไปสำรวจ" แล้วถอนหายใจหลายเฮือก
ไม่อยากได้ยินคำว่า "คาดไม่ถึง" (ก็เลยทำไม่ทัน)
...................................................................

ปล. สืบเนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2012
ล่าสุด นาย กวอจินหลุง ( 郭金龙 ) ผู้ว่านครปักกิ่ง และ นาย จี๋หลิน (吉林) รองผู้ว่านครปักกิ่งได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว
ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2012 หลังเกิดน้ำท่วมได้ 4 วัน
ตำแหน่งผู้ว่านครปักกิ่งถือว่าเป็นตำแหน่งที่ใหญ่และสำคัญ เพราะรับผิดชอบดูแลเมืองหลวงของจีนที่นอกจากจะมีประชากรมากถึง 20 ล้านคน (มากกว่ากรุงเทพฯ เท่าตัว) เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญรวมถึงมรดกโลกที่สำคัญหลายแห่งแล้ว ยังถือเป็นเมืองหนึ่งที่เป็นหน้าตาของประเทศจีนด้วย

 เพิ่มเติม
ตอนไปปักกิ่ง เห็นพิธีกรในทีวีจีน นิยมหยอดคำถามว่า “你希望后人怎么评价你?” (คุณคาดหวังว่าคนรุ่นหลังจะประเมินคุณค่าของคุณอย่างไร ? )
อ่านตอนอื่นๆ เพิ่มเติมใน
Posted by เหล่าซือสุวรรณา 


ส่วนหนึ่งของยอดคลิก ซีรีส์เรื่องเจาะลึกปักกิ่ง 
หวังว่าจะเป็นประโยชน์

Flag Counter

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

เจาะลึกปักกิ่ง ตอน 18 หวังฝูจิ่งย่านห้างหรู จีน เปลี่ยนเร็วและแรงในรอบ 100 ปี

เจาะลึกปักกิ่ง ตอนที่ 18 


 深入北京、走进北京 เจาะลึกปักกิ่ง
การที่ยังเขียนถึงเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับปักกิ่งไม่ยอมจบ  
นอกจากต้องการจะบันทึกเรื่องราวเพื่อความทรงจำใช้เทียบกับอดีตและอนาคตแล้ว  
ผลพลอยได้ก็คือเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยว ไปติดต่องาน  ไปเรียนต่อ  ไปดูงาน ไปประชุมฯลฯ 
ไม่ใช่เชิญชวนให้คนไทยไปเที่ยว


 

ที่เขียนถึงหวังฝูจิ่งใน "เจาะลึกปักกิ่ง" (โดยสุวรรณา) นี้  ไม่ได้ช่วยจีนโปรโมทให้ไปเที่ยวซื้อของที่นั่น 
เพราะหวังฝูจิ่ง ย่านที่เป็นที่ตั้งของห้างหรูขายสินค้าแพงกลางกรุงปักกิ่ง  
ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งช็อปปิ้งสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ  
แต่เป็นย่านที่คนมีตังค์ของจีนไปจับจ่ายเงินซื้อสินค้าแบรนด์เนมของแท้  ทานอาหารร้านดัง นัดพบปะเพื่อนฝูงฯลฯ
เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติจะไม่นิยมซื้อสินค้าที่ย่านนี้  แต่จะนิยมไปซื้อของเลียนแบบแบรนด์เนมที่ตลาดรัสเซีย หรือ ที่คนจีนเรียกว่า 秀水街 กัน
ทำไมดิฉันถึงพานักศึกษาและผู้ปกครองมาเที่ยวชมถนนหวังฝูจิ่ง ทั้งๆ ที่ไม่คิดจะซื้ออะไรเลย 
ก็เพราะอยากให้เห็นภาพสถานที่ กำลังซื้อ วิถีชีวิต ค่านิยมและอะไรอีกหลายอย่างของคนจีนที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมากและอย่างรวดเร็ว

                             

จุดประสงค์หลักในการลงภาพและเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับจีน 
ก็คือ  อยากมีส่วนร่วมเล็กๆ ในการ "เข้าใจจีน" ในฐานะที่เป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีบทบาทเกี่ยวข้องกับคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ  
ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการศึกษา 
โดยผ่านภาพถ่ายที่ได้จากการเดินทางไปเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ  การสังเกตวิถีชีวิตของคนจีนที่เปลี่ยนไป  
ผ่านการเข้าใจวัฒนธรรม  ผ่านเกร็ดประวัติศาสตร์  ผ่านแนวคิดหลักปรัชญา 
และที่สำคัญที่สุดคือ ผ่านการสื่อสารด้วยภาษาจีน  ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน ในระดับที่สูงกว่าและลึกกว่าการสื่อสารในชีวิตประจำวัน



(บรรยายภาพบน ปากทางเข้าถนนหวังฝูจิ่ง มีเลนจักรยานด้วย แต่ปัจจุบันจักรยานไม่หนาตาเท่า 4 - 5 ปีก่อน)

ปัจจุบันมีคนไม่น้อยที่อยากเข้าใจจีน ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน  
โดยเฉพาะคนที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ปกครอง นักบริหาร นักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการศึกษา ฯลฯ  
เพราะการจะกำหนดบทบาทและนโยบายที่มีต่อจีนให้ถูกต้อง จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานที่เข้าใจจีนอย่างถูกต้องด้วย
แต่ว่าจะให้เข้าใจจีนได้โดยผ่านเรื่องเล่าหรือการเขียนบทความเพียงไม่กี่เรื่องนั้น เป็นไปไม่ได้ 



เรื่องราวต่างๆ ของนครปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน ที่ดิฉันอยากจะถ่ายทอดอย่างละเอียดในฐานะที่เป็นคนรู้ภาษาจีน  จึงเป็นแค่เศษเสี้ยวเพื่อความเข้าใจจีนเท่านั้น



ในช่วง 100 กว่าปีที่ผ่านมา  ประเทศที่เปลี่ยนแปลงแรงที่สุดเร็วที่สุดในโลกนี้  ก็น่าจะเป็นจีน  
คือนับตั้งแต่ปฏิวัติซิงไห้ที่นำโดย ดร.ซุนยัตเซ็น (孙中山先生 - 辛亥革命 1911 ) เป็นต้นมาจนถึงการปฏิวัติที่ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกรอบในปี 1949 
หรือพูดให้แคบเข้ามาหน่อยก็ 60  กว่าปีที่ผ่านมา  จีนมีการเปลี่ยนแปลงมากจริงๆ



(บรรยายภาพ  รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการศึกษา ส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือ
ภาพบนที่เห็นเป็นตึกใหญ่นั้น ทั้งตึกคือร้านหนังสือหวังฝูจิ่ง 王府井书店)



เคยมีการพูดกันว่า การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและแรงแบบจีนนี้  แม้แต่คนจีนบางส่วนก็ยังรู้สึกสับสนงงงวย  มีปัญหาในการปรับตัว  ไม่รู้ว่าเกิดอยู่ในยุคอะไรกันแน่



อย่างเช่น ยุคหนึ่ง (ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ) รัฐบาลจีนก็มีการรณรงค์ครั้งใหญ่ให้วิพากษ์ความคิดขงจื่อซึ่งถือเป็นความคิดศักดินา  ใครที่นับถือขงจื่อก็ต้องเงียบๆ ไว้  พอมาตอนนี้ก็ยกย่องเชิดชูขงจื่อ รื้อคำสอนของขงจื่อมาให้เด็กจีนท่อง ฯลฯ  อะไรอย่างนี้   

จำได้ว่า พ่อเล่าให้ฟังว่า  ที่จีนเกิดสงครามติดต่อกันหลายปี  ประสบภัยธรรมชาติ ขาดแคลนยาและอาหาร คนจีนอดตายเป็นจำนวนมาก จึงมีคนจีนเสี่ยงตายหนีความอดอยากไปอยู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก (ดิฉันลองนึกภาพดู คนที่เหมือนกำลังจะสิ้นชาติแบบนั้น  เวลาไปอยู่เมืองไหนก็คงจะถูกคนท้องถิ่นรังเกียจ ดูถูกเหยียดหยาม หรือถูกระแวงสงสัย) บางคนมารับจ้างหางานทำในไทย  บางคนป่วยตายที่เมืองไทยเป็นศพอนาถา ไม่มีญาติ ไม่มีใครทำศพให้ (จึงเป็นที่มาของการรวบรวมเงินบริจาคเพื่อสร้างโรงพยาบาลเทียนฟ้า 天華醫院 ที่เยาวราช  โรงพยาบาลหัวเฉียว 華僑醫院 ที่แถวยศเส  เกิดมูลนิธิร่วมกตัญญู 義德善堂 และปอเต็กตึ๊ง 報德善堂 เพื่อให้การสงเคราะห์ชาวจีนตกยาก  สงเคราะห์การทำศพไม่มีญาติ  (ซึ่งดิฉันได้เขียนถึงเรื่องนี้แล้วในบทความอื่น)



(บรรยายภาพ รถตำรวจ คนจีนเล่าให้ฟังว่า พวกเขาเจอตำรวจจีนที่ไหนจะรู้สึกอุ่นใจเสมอ)

จำได้ว่า เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ได้ยินเพื่อนๆ เล่าเรื่องที่พ่อแม่เขากลับไปเยี่ยมญาติที่เมืองจีน แล้วถูกญาติเมืองจีนขอเงิน ขอทอง ขอนาฬิกา ขอรองเท้ากระเป๋า ขอเสื้อผ้า ฯลฯ ที่ติดตัวไปจนเกลี้ยง  เหลือกลับมาแค่เสื้อผ้าที่ใส่อยู่ชุดเดียว เพราะว่าพวกเขาขาดแคลน เห็นอะไรจากต่างประเทศก็อยากได้  
แล้วเพื่อนบางคนก็บอกว่าแม่ทะเลาะกับพ่อ เพราะพ่อชอบส่งเงินที่ครอบครัวหามาได้ด้วยความลำบากกลับไปช่วยญาติที่เมืองจีน และว่าจะไม่ยอมให้พ่อกลับไปหาญาติที่เมืองจีนอีก เพราะจะโดนขอจนไม่มีอะไรเหลือ  



จำได้ว่า  ประมาณ 22 ปีก่อน มีการจ้างคนไทยถือคูปองสำหรับซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าพวกทีวีสี ตู้เย็น มอร์เตอร์ไซด์ฯ เข้าจีนผ่านทางด่านฮ่องกง ซึ่งผู้รับจ้างจะได้ค่าตอบแทนใบละประมาณ 2000 บาท(ตอนนั้น) 
เพราะว่าคนจีนเริ่มรวยขึ้น แต่สิ่งของเหล่านี้ขาดแคลน  เนื่องจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนยังไม่พัฒนา 
ในสมัยนั้นคนจีนมีเงินก็ซื้อของพวกนี้ไม่ได้ นอกจากจะมีคูปองที่ยืนยันว่าญาติที่อยู่ต่างประเทศซื้อและส่งไปให้  
แต่ต้องเอาเข้าไปให้ในรูปคูปอง จึงเปิดช่องให้มีการซื้อขายคูปองเกร็งกำไรขึ้น



แต่ตอนนี้  บริษัท HAIER (海尔电器公司) ของจีน ที่เพิ่งซื้อกิจการบริษัท ซันโย ของญี่ปุ่น ได้กลายเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก   

 
00
  

(ภาพถ่ายจากหวังฝูจิ่ง กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ใช้การแต่งกายแบบราชวงศ์ชิงกับนักรบโบราณเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ชุดอย่างนี้แต่งได้ตอนอากาศหนาวช่วงกลางเมษายน)


 
                                                                                             00 
 

 (ภาพจากหวังฝูจิ่ง  กาน้ำชาใบนี้ ราคา 5000 กว่าบาท ถ่ายจากหนึ่งในกาน้ำชาที่ตั้งโชว์ในตู้ภาพบน)



เมื่อก่อน หวังฝูจิ่งเป็นย่านการค้าก็จริง  แต่ไม่มีสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือย  ไม่มีกระเป๋ารองเท้าราคาแพง  
มีร้านอาหารอยู่ไม่มาก  สมัยโน้น  คนจีนจะแต่งตัวสวยๆ ไม่ได้  ใช้ของแพงๆ ไม่ได้  จะถือว่าเป็นพวกทุนนิยม  วัตถุนิยม 
การซื้อของเช่นเสื้อผ้า อาหาร เนื้อสัตว์ ฯลฯ ต้องมีคูปองที่รับการจัดสรรจากรัฐบาลจึงจะซื้อได้  ถึงมีตังค์ก็หาซื้ออาหารอร่อยๆ ทานไม่ได้  
ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมที่เป็นของเอกชนไม่มี  
เสื้อผ้าที่คนจีนใส่อยู่ก็มีอยู่ 3 สี คือ ขาว ดำ เทา 
ผู้หญิงจะใส่เสื้อผ้าสีสวยๆ สดๆ ไม่ได้ (ลองหลับตานึกภาพสวนดอกไม้ที่มีแต่ 3 สีนี้ ภาพที่เห็นจะเป็นอย่างไร)    
ไม่ต้องพูดถึงถือกระเป๋าแพงๆ ........ แต่งหน้าสวยๆ ...... เหมือนเด็กจีนสมัยนี้


 

(บรรยายภาพ) สีสรรของหวังฝูจิ่งอีกส่วนหนึ่งก็คือ แผงขายอาหารปิ้งย่างทอดที่เรียงรายอยู่ปลายถนน  ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าจะร้องขายสินค้าเสียงดังมาก (北京王府井东华门美食坊夜市) เป็นตลาดกลางคืนที่เปิดขายตั้งแต่ตอนเย็นๆ

  

มุมนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้พอสมควร  มีของแปลกๆ หลายอย่างแบบเปิบพิศดาร (ผู้เขียนไม่กล้ากิน)



เนื้อแพะย่างไม้ละ  5 - 10 หยวน



เต้าหู้เหม็น ไม่กล้ากิน



ปู ไม่ได้ซื้อ 



กั้ง ดูน่ากินมาก แต่ไม่มีเนื้อเลย มีแต่เปลือก เตือนเพื่อนอย่าหลงซื้อนะคะ  อาหารทะเลกลับมากินบ้านเราดีกว่าเยอะค่ะ



19 ปีก่อน (พฤศจิกายน 1993) ดิฉันติดตามคณะของเดอะเนชั่น ไปเป็นล่ามภาษาจีนให้กับการประชุมสัมนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ที่นครคุนหมิง 
จำได้ว่าสนามบินคุนหมิงเล็กมาก ประมาณสนามบินแม่ฮ่องสอนเรา  
แต่ล่าสุดคุนหมิงได้เปิดใช้สนามบิน 长水机场 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งอาจารย์ปัญญา เรืองวงศา ที่ร่วมเดินทางไปถ่ายทำสารคดีฯ  ได้ไปใช้บริการมาและกลับมาเล่าให้ฟังเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมนี้ว่า สนามบินใหม่ของคุนหมิงใหญ่พอๆ กับสุวรรณภูมิของเราเลย
จำได้ว่าตอนนั้น ( 19 ปีก่อน) นั่งเครื่องบินจากคุนหมิงไปเมืองเชียงรุ้งที่สิบสองปันนา  เขาบอกว่าถ้าไปทางรถยนต์ต้องขึ้นเขาหลายลูกมาก ใช้เวลาเดินทางไม่ต่ำกว่า 2 วันจึงจะถึงเมืองเชียงรุ้ง

แต่วันนี้ มีถนนสาย R3A หรือเส้นทางคุนหมิง-กรุงเทพฯ (昆曼公路) ที่เริ่มจากเมืองคุนหมิง ผ่านเมืองเชียงรุ้งได้ตัดมาถึงลาวผั่งตรงข้ามเชียงของและเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว  ถนนเส้นนี้ไม่ต้องขึ้นเขา เจาะอุโมงค์ทะลุเขาตลอดเส้นทางหลายสิบอุโมงค์  บางอุโมงค์ยาวถึง 4 กิโลเมตร ฯลฯ

ถึงแม้เศรษฐกิจประเทศจีนโดยรวมดีขึ้นอย่างรวดเร็ว คนจีนส่วนใหญ่มีฐานะดีขึ้น มีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นจำนวนไม่น้อย  แต่ก็ใช่ว่าประเทศจีนปัจจุบันจะไม่มีคนจนหรือความเหลื่อมล้ำทางฐานะ  
ซึ่งอันนี้คิดว่ายังมีกันทุกประเทศ  เพียงแต่คนจีนปัจจุบันไม่ต้องอดตายเหมือนเมื่อก่อนแล้ว
  


อะไรที่ทำให้จีนเปลี่ยนแปลงได้แรงและเร็วขนาดนี้ ?
อะไรที่ทำให้จีนสามารถสลัดฉายา "ผู้ป่วยแห่งเอเชีย" (亚洲病夫) ที่ถูกชาติมหาอำนาจตะวันตกหลายชาติเข้ายึดครองพื้นที่สำคัญและแย่งชิงทรัพยากร  ถูกสหรัฐฯ และชาติตะวันตกกีดกันและบอยคอตทางการค้าในสมัยสงครามเย็น  

จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ  เป็นโรงงานโลก  เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐฯ  เป็นผู้ที่จะเข้ามาช่วยอุ้มประเทศยุโรปที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจในขณะนี้ ? 

เจาะลึกปักกิ่ง หวังฝูจิ่งย่านห้างหรู ทำให้ย้อนนึกถึงอะไรของจีนที่เปลี่ยนไปบ้าง
ไม่คิดว่าการเขียนเรื่องหวังฝูจิ่ง จะทำให้นึกอะไรได้มากมายขนาดนี้
   


รวมเรื่องเกี่ยวกับปักกิ่ิง 深入北京
เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云 

เรื่องนี้โพสต์ครั้งแรกที่ OKnation Blog วันที่ 12 กรกฎาคม 2555 (2012)
http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2012/07/12/entry-1


อ่านตอนอื่นๆ เพิ่มเติมใน  
Posted by เหล่าซือสุวรรณา 


ส่วนหนึ่งของยอดคลิก ซีรีย์เรื่องเจาะลึกปักกิ่ง 
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ค่ะ
Flag Counter

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

เจาะลึกปักกิ่ง ตอน 17 แบบไปเอง ร้านอาหารน่าแวะ ติ๋มซำกวางตุ้ง (2)

เรื่องนี้โพสต์ครั้งแรกที่ OKnation Blog เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 (2012)


 深入北京、走进北京เจาะลึกปักกิ่ง

กลับมาที่เขียนต่อจากเรื่องเดิม  
รายการวันที่สองของการเดินทาง (วันที่ 9 พฤษภาคม 2012)
เช้า กู้กง หรือพระราชวังต้องห้าม - มื้อเที่ยงติ๋มซำกวางตุ้ง
บ่ายวัดลามะ หรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า ยงเหอกง และ พระราชวังฤดูร้อน 
ค่ำ ย่านการค้าหวังฝูจิ่ง
故宫( 紫禁城)  雍和宫   颐和园  王府井大街
Gugong , Yonghe Gong ( Lama Temple ),  Summer Palace , Wangfujing 
เป็นรายการที่จัดเต็มแบบไม่ไปแวะร้านขายของโอท็อปเลย  แต่จัดโปรแกรมตามทำเลร้านอาหารอร่อยที่เราจะพาไปชิมกันค่ะ
ยังงี้เรียกว่ามากินเป็นหลักหรือมาทัศนศึกษาเป็นหลักกันแน่ 
หาข้ออ้างให้ตัวเองหน่อยก็คือ การกินเป็นการศึกษาวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง 
การกินดีกินได้จะได้มีแรงศึกษาต่อไงคะ 
สถานที่เที่ยวซึ่งเป็นโบราณสถานทั้งสามแห่งในกรุงปักกิ่งที่ไม่ควรพลาดได้เขียนไปในเอนทรี่ก่อนหน้านี้แล้ว  
วันนี้จะพาไปชิมและสัมผัสบรรยากาศสองร้านอาหารของปักกิ่งก่อนค่ะ
(สองร้านนี้เคยแนะนำไปบ้างแล้วในเอนทรี่ก่อนๆ ซึ่งเป็นภาพปีที่แล้ว ) แล้วร้านอื่นๆ ก็เอาไว้วันต่อๆ ไป

คืนแรกที่เราไปถึงปักกิ่ง เนื่องจากเสียเวลาอยู่บนถนนนาน ก็เลยยังไม่ได้ชิมอาหารที่ตั้งใจจะพาไป 
มื้อเที่ยงของวันที่ 9 พฤษภาคม  จึงถือว่าเป็นอาหารอร่อยมื้อเที่ยงแรกที่เราไปชิมหลังแตะพื้นที่ปักกิ่ง 
และหลังจากเดินอยู่ในพระชวังกู้กงประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง เสียพลังงานจากการเดินมากว่า 10 กิโลเมตร 
ก่อนที่จะไปชมวัดลามะ  เดี๋ยวเหล่าซือพาไปเติมพลังที่ร้านนี้ก่อนนะ 

นี่ค่ะ หน้าร้าน
        นี่คือภาพภายนอกของภัตตาคาร จินติ่งเซวียน สาขา ตี้ถัน (金鼎轩地坛店)ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดลามะ 
ภัตตาคารยี่ห้อนี้มีอยู่หลายสาขา 
        ร้านนี้แนะนำโดยคุณธัชชัย ประธานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยภาษาปักกิ่ง (北京语言大学) กรุงเทพฯ  ประธานบริษัทท็อปสตาร์กรุ๊ป  คนเขียนขอแนะนำต่อนะคะ
        วิธีการเดินทาง
        ก็นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ลงสถานี Yong He Gong เดินขึ้นมาตรงสี่แยกก็จะมองเห็น 
ถ้านั่งแท๊กซี่ ร้านนี้สามารถมองเห็นได้จากบนสะพานลอยข้ามแยกตรงวัดลามะ
       สังเกตดูไม่เห็นมีรถทัวร์มาจอดเลยร้านนี้  แสดงว่าไม่ใช่ร้านที่ทัวร์ลง
        กางเมนูออกมา ถามว่าจะทานอะไรกันบ้าง  "อะไรก็ได้ แล้วแต่เหล่าซือสั่งค่ะ"
        เอาเลย ถ้างั้นก็จะสั่งตามใจเหล่าซือเลยนะ


       
ผักสุขภาพจานนี้  เหล่าซือแนะนำเองว่าไม่ควรพลาด กรอบ อร่อย 
เข้าใจว่าผักที่ปลูกในเมืองหนาวกับซอสที่ใช้ราด รสชาติแตกต่างกับของที่เมืองไทย          
      ผักกาดขาวอีกจานก็อร่อย แต่หมดก่อนจะถ่ายรูป 
(รำคาญจัง พอหยิบตะเกียบตั้งท่าจะคีบสักหน่อย เหล่าซือก็จะถ่ายรูปอยู่นั่นแหละ)


ฮะเก๋า เป็นอาหารแนะนำของร้านนี้ที่ไม่ควรพลาด  ราคาแพงกว่าของเมืองไทย
         เสี่ยวหลงเปา  เป็นอีกเมนูที่แนะนำว่าไม่ควรพลาดเหมือนกัน สรุปว่า เตรียมท้องมาใส่ให้เต็มเลยค่ะ

         ภาพนี้ เมนูนี้ก็ไม่ควรพลาด เปลือกที่ห่ออยู่คือฟองเต้าหู้ 

              00
           ที่เห็นเป็นสีขาวๆ นั่นคือบุก

            ที่ประตูหมุนทางเข้า ติดโฆษณาไว้ว่า ฮะเก๋าของที่นี่เป็นที่หนึ่งของนครหลวง

             ของหวานที่ไม่ควรพลาดคือ พุทราจีนทอด 

0000
           น้องโอ๋ ที่ได้รับทุนรัฐบาลจีนศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยภาษาปักกิ่ง 3 ปี ...........
" เหล่าซือสั่งไปเลย โอ๋เป็นคนเทน้ำชาให้เหล่าซือกับป่าป๊า .."


ห้องส่วนตัวแต่ละห้องมีชื่อเรียกเป็นสิริมงคล  ข้างในตกแต่งแบบจีนโบราณ  ได้บรรยากาศอีกแบบ

      
        ไม่คิดค่าห้องเพิ่ม  แต่พนักงานค่อนข้างหยิ่ง (ดุด้วย) ที่นี่แขกเยอะ อาหารสั่งแล้วห้ามยกเลิก 
เพราะฉะนั้น ตอนหิวอย่าสั่งมาก  ไม่งั้นจะมีอาการแบบพวกเหล่าซือ  ที่ทานจนแทบจะต้องเงยคอเดิน 
        เช็คบิลออกมา  ก็ตกเฉลี่ยคนละ 380 บาท  ซึ่งถ้าเทียบคุณภาพของ ปริมาณ และราคาแล้ว  
เหล่าซือก็ว่าคุ้มค่ากว่าการทานอาหารประเภทเดียวกันที่ภัตตาคารจีนในกรุงเทพฯ  
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
         ออกจากร้านนี้  เราก็ไปชมวัดลามะ ซึ่งอยู่ใกล้กับร้าน 
         ต่อจากวัดลามะก็ไปชมพระราชวังฤดูร้อนกันต่อ โดยไม่ต้องเสียเวลากับการพาเข้าร้านขายของแบบบังคับของทัวร์
         มื้อเย็นของวันนั้น  หลังจากออกมาจากพระราชวังฤดูร้อน อี๋เหอหยวน  ก็เรียกว่าลุยมาแล้ว 3 ที่
เดินกันมาทั้งวัน อย่างน้อยๆ ก็คงเดินไม่ต่ำกว่า 20 กม.  ปกติไม่เคยเดินอะไรกันอย่างนี้

 " ....เหล่าซือจะพาพวกผมไปกินอะไรเย็นนี้ .... "  ก็ร้านที่บอกไว้ไงว่าจะพาคอกำลังภายใน
      .............................
(updated ข้อมูล ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2014 )
เหล่าซือได้พาคณะทัวร์ไปที่ร้าน "สไตล์กำลังภายใน" อีกรอบ แต่คราวนี้ร้านได้ย้ายไปจากจุดเดิมและแต่งร้านใหม่ แต่บรรยากาศไม่น่าสนใจ และไม่มีลูกค้าในร้านเลย เหล่าซือและคณะจึงตัดสินใจไปทานที่อื่นแทน
เมื่อกลับมาจากปักกิ่ง จึงขอลบภาพที่เกี่ยวกับร้านอาหารร้านโรงเตี๊ยมนี้ออกจากบล๋็อคค่ะ         

ขอขอบคุณ กอง บก.โอเคเนชั่น ที่กรุณาเลือกให้เรื่องนี้ เป็น
เรื่องแนะนำจากกอง บก.  
..................
        
เรื่องจีนๆ  ภาษาจีน ศึกษาต่อจีน ดูเพิ่มใน 
http://www.futurec-cn.com
Suwanna Future C 

รวมเรื่องเกี่ยวกับปักกิ่ิง 深入北京
เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

อ่านตอนอื่นๆ เพิ่มเติมใน 

ส่วนหนึ่งของยอดคลิกของเรื่องเจาะลึกปักกิ่ง
หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะคะ
Flag Counter

เจาะลึกปักกิ่ง ตอน 16 แบบไปกันเอง รวมภาพพระราชวังฤดูร้อน(2) เกร็ดประวัติศาสตร์จีนบางส่วน


เรื่องนี้โพสต์ครั้งแรกที่ OKnation Blog วันที่ 23 มิถุนายน 2555 (2012)

深入北京、走进北京。 เจาะลึกปักกิ่ง

เกร็ดประวัติศาสตร์สำคัญ ช่วง "เสียกรุง" ให้กับชาติตะวันตก และ สิ้นสุดราชวงศ์ชิง

รวมภาพพระราชวังฤดูร้อน อี๋เหอเหยวียน หรือ อี๋เหอหยวน  หนึ่งในมรดกโลกกรุงปักกิ่ง 
2011 และ 2012 ต่อจากเอนทรี่ที่แล้ว 
Summer Palace Bejing, One of the world Heritage in Beijing
เที่ยวปักกิ่งแบบไปกันเอง  北京颐和园 ---- 世界文化遗产之一 


ประเทศที่มีอารยธรรม และมีประวัติศาสตร์ยาวนานทุกประเทศล้วนแต่มีและอนุรักษ์โบราณสถานต่างๆ เช่น พระราชวังซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ศูนย์กลางการเมืองการปกครองของชาติต่างๆ  ศาสนสถาน ฯลฯ  ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษากันทั้งสิ้น 
ไม่ว่าประวัติความเป็นมาจะเป็นอย่างไรก็ตาม  
เพราะถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ  
อี๋เหอหยวน (พระราชวังฤดูร้อน) ก็เช่นกัน 


อี๋เหอหยวนได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก้ ให้เป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมตั้งแต่ปี 1997 


ทะเลสาบคุนหมิงที่อยู่ในอี๋เหอหยวน เดิมมีชื่อว่าทะเลสาบซีหู (ซึ่งเป็นการตั้งชื่อเลียนแบบทะเลสาบซีหูที่เมืองหังโจว)  
ฮ่องเต้เฉียนหลงรับสั่งให้ใช้แรงงานมนุษย์ขุดขยายตั้งแต่ปี 1749 เพื่อจัดงานฉลองวันพระราชสมภพแด่พระมารดาของพระองค์


พอมาถึงยุคที่พระนางซูสีไทเฮามีอำนาจ  ได้สร้างขยายและใช้วังแห่งนี้เป็นที่พักผ่อนรวมทั้งปรึกษาราชการ

บล็อกเกอร์ลูกเสือหมายเลข 9 ได้กรุณามาแสดงความเห็นโพสต์ไว้ในเอนทรี่ที่แล้วว่า
" .........การสร้างวังใหม่ของแต่ละรัชกาล  หมายถึงการสร้างอาณาจักรใหม่
ในอดีตเป็นเรื่องของการดูฤกษ์ยาม กระทั่งเวลาตกฟาก
ที่สำหรับองค์หนึ่ง..อาจจะไม่เหมาะกับอีกองค์หนึ่ง  ................... "
................................


ปี 1860 ทหารพันธมิตรอังกฤษและฝรั่งเศสบุกเข้าเมืองปักกิ่ง (เข้าปล้นชิงสมบัติมีค่าในพระราชวัง) 
และสั่งให้เผาพระตำหนักเหยวียนหมิงเหยวียน(圆明园) รวมทั้งเผาอี๋เหอหยวนด้วย 






1885 - 1894 พระนางซูสีไทเฮาเอางบประมาณทีใช้พัฒนากองทัพเรือมาบูรณะซ่อมแซมอี๋เหอหยวน จนเป็นเหตุให้การป้องกันประเทศขาดประสิทธิภาพ
1885 至 1894 年年间,慈禧太后以海军经费修复被毁的清漪园。

และเมื่อพระนางฯ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูปของฮ่องเต้กวางซวี่  
พระราชวังแห่งนี้ก็กลายเป็น"คุก"ที่ใช้คุมขังฮ่องเต้กวางซวี่ (1889) 


1900  พฤษภาคม กลุ่มอี้เหอถวน(义和团)บุกเข้ากรุงปักกิ่งและเข้าล้อมสถานทูตต่างประเทศ  
พระนางซูสีไทเฮาประกาศสงครามกับประเทศตะวันตก  
สิงหาคมปีเดียวกัน  กองกำลัง 8 ชาติบุกเข้าปักกิ่ง 
และกองกำลังรัสเซีย อิตาลีเข้ายึดพระราชวังอี๋เหอหยวนวันที่ 15 สิงหาคม 1900  

 

การที่ทหารต่างชาติเข้ายึดจีนได้อย่างง่ายดาย  สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการที่กองทัพเรือของจีนซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการต่อสู้กับต่างชาติในสมัยนั้นขาดประสิทธิภาพเพราะถูกตัดงบประมาณ (เอามาบูรณะอี๋เหอหยวน) 


1901  รัฐบาลของราชวงศ์ชิงต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับประเทศต่างๆ ที่บุกยึดปักกิ่ง  
ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นสัญญาที่แบ่งกันยึดครองดินแดนสำคัญๆ ของจีน ( แบ่งเค้ก)  
เรียกว่า 辛丑条约 สนธิสัญญา "ซินโฉ่ว"
ซึ่งทำให้ชาวจีนต้องสูญเสียชีวิตจำนวนมากจากสงครามและการกู้ชาติในเวลาต่อมา 



1902  ทันทีที่กลับเมืองปักกิ่ง  พระนางซูสีไทเฮาก็ใช้งบประมาณมหาศาลในการซ่อมแซมบูรณะพระราชวังที่ถูกต่างชาติทำลายแห่งนี้ และใช้สถานที่นี้จัดงานฉลองวันเกิด 70 พรรษา  

1908  พระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์  ฮ่องเต้ปูยีขึ้นครองราชย์ขณะที่มีพระชนมายุ 3 พรรษา



หลังจากนั้น ชาวจีนผู้รักชาติทั้งในและนอกประเทศจีนได้จัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ
โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนนอกที่นำโดย ดร.ซุนยัตเซ็น (孙中山先生) เคลื่อนไหวต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ
และกลุ่มของ ดร.ซุนยัตเซ็นสามารถยึดเมืองปักกิ่งได้ในปี 1911
สถาปนาประเทศจีนเป็นสาธารณรัฐ
ถือเป็นการสิ้นสุดยุคการปกครองของราชวงศ์ชิง (ซึ่งปกครองโดยชาวแมนจู)
และสิ้นสุดการปกครองโดยฮ่องเต้  อำนาจการปกครองกลับคืนสู่มือชาวจีน (ชาวฮั่น)



ประเทศจีนจึงถือว่า ปี 1911 เป็นปีสำคัญในการแบ่งช่วงประวัติศาสตร์


เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์จีนที่น่าเก็บรับเป็นอุทาหรณ์


บล็อกเกอร์ BlueHill ได้กรุณาโพสต์ไว้ในเอนทรี่ที่แล้วเช่นกันว่า
.....
เรื่องราวในอดีตมีทั้งที่ควรจดจำและไม่ควรจดจำ
ที่ควรจดจำก็ช่วยกันศึกษาส่วนดีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
ที่ไม่ควรจดจำก็เรียนรู้ให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อป้องกันไม่ให้่เกิดขึ้นอีก
การศึกษาประวัติศาสตร์ จึงเป็นการทบทวนปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจอนาคต ครับ
.....................................................................



ต้นไม้อายุหลายร้อยปีในอุทยาน


000


000


00


ถ้าช่วงไหนประเทศจีนได้ผู้ปกครองที่ดี มีคุณธรรม มีหลักการปกครองดี ก็จะเป็นช่วงที่ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข เศรษฐกิจและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง
แต่ช่วงที่เป็นปลายราชวงศ์ชิงซึ่งปกครองโดยชาวแมนจู ( รวมถึงพระนางซูสีไทเฮา แมนจู เป็นชนเผ่าส่วนน้อยที่เข้ามาปกครองชาวจีน ไม่ใช่ชาวจีน) อำนาจถูกกุมอยู่ในมือของพระนางซูสีไทเฮาและพวกพ้องที่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว  จึงนำความหายนะมาสู่ชาวจีนในสมัยนั้น 

ราชวงศ์ชิงเป็นชนเผ่าหนึ่งที่รบเก่ง และบุกรุกแผ่นดินจีนโดยอาศัยการช่วยเหลือของคนจีนที่ขายชาติ  จึงอยากมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นอุทธาหรณ์  ถ้ามีคนขายชาติหรือชักศึกเข้าบ้าน 
ก็ไม่แน่เสมอไปว่าประเทศที่มีประชากรมากกว่าหลายเท่าจะถูกปกครองโดยคนชนชาติอื่นที่มีจำนวนน้อยกว่าไม่ได้

หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยวแบบศึกษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออก

หมายเหตุ 
สุวรรณา สนเที่ยง  ถอนความและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาจีนของเว็บไซต์ทางการของ Yi He Yuan  โดยมีการเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วน  

พระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน







รวมเรื่องเกี่ยวกับปักกิ่ิง 深入北京
เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

Flag Counter