วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

北京 BEIJING (9) 颐和园 Summer Palace สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง

 北京颐和园 ---- 世界文化遗产之一 
Summer Palace Bejing, One of the world Heritage in Beijing

รวมภาพพระราชวังฤดูร้อน ในกรุงปักกิ่ง 
สองปีสองสภาพอากาศ
เที่ยวปักกิ่งแบบไปกันเอง  


อี๋เหอเหยวียน หรือที่คนไทยเรารู้จักกันในชื่อว่า อี๋เหอหยวน
พระราชวังฤดูร้อนของพระนางซูสีไทเฮา  
อุทยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หนึ่งในมรดกโลก กรุงปักกิ่ง

หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยวแบบศึกษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออกอีกด้านหนึ่ง

พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ 
 มีประวัติเป็นมาอย่างไร  
เคยถูกกองทหารของชาติตะวันตกเผาทำลายอย่างไร 
 พระนางซูสีไทเฮาใช้งบประมาณของส่วนไหนมามาบูรณะซ่อมแซมพระราชวังแห่งนี้  
หลังจากนั้นจีนเป็นอย่างไร 
เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์จีนที่น่าสนใจและน่าเก็บรับเป็นอุทาหรณ์





เรือหินอ่อนที่เป็นสัญลักษณ์ของพระราชวัง YI HE YUAN 
( สองภาพแรกนี้ถ่ายเมื่อปี 2011 สังเกตจากวันที่กล้องที่อยู่ด้านขวาล่างของภาพนะคะ)



จากการพานักเรียนของสถาบันภาษาจีนฟิวเจอร์ซี ไปเข้าค่ายศึกษาวัฒนธรรมและภาษาจีนที่ปักกิ่งปีที่แล้ว (เมษายน 2011) 
มาเป็นเอนทรี่ชุด "เจาะลึกปักกิ่ง" ที่เขียนไปหลายตอน (ก็ยังไม่ยอมจบ) 
มีบางคนถามมาว่า  เหล่าซือลงเรื่องเจาะลึกปักกิ่งมาตั้งหลายตอนแล้ว  ทำไมไม่เห็นมีภาพหรือเรื่องของพระราชวังฤดูร้อนเลย
ก็บอกว่าช้าหน่อย รูปเยอะ ยังจัดไม่เสร็จ 

จนกระทั่งผ่านไปปีนึง  ก็ยังไม่ได้ลง  พฤษภาปีนี้พาผู้ปกครองและนักเรียนไปเยี่ยมชมโรงเรียนนานาชาติและมหาวิทยาลัยภาษาปักกิ่ง (北京语言文化大学) และท่องเที่ยวเชิงศึกษาวัฒนธรรมและสภาพเศรษฐกิจ  ก็ถ่ายรูปเพิ่มมาอีก
     



( ภาพเรือหินอ่อนนี้ถ่ายเมื่อปี 2012 ) 
เอนทรี่นี้ก็เลยเอาภาพของสองปีมารวมกัน  ก็ดีนะ  ได้บรรยากาศสองฤดู  
ตอนไปอี๋เหอหยวนวันที่ 5 เมษายนปีที่แล้ว อากาศหนาวมาก  อุณหภูมิประมาณ 2 - 3 องศา  ลมแรงมากๆ  หนาวจนมือชาหน้าชาหูชาไม่หมด  นิ้วก็ขยับยาก  แต่เห็นวิวสวยๆ ก็ต้องยอมถอยถุงมือกดถ่ายไปนับร้อยใบ (อยากจะบอกว่ากลับมาถุงมือข้างขวาหาย ยืมของลูกไปใช้ ) 



ไปครั้งหลังสุดคือ วันที่ 9 พฤษภาคม 2012 วันนั้นอากาศดีมาก 
อุณหภูมิอยู่ที่ 20 กว่าองศา  เดินสบาย ไม่เหนื่อย แต่เมื่อยขามาก 

เรือที่เห็นอยู่ถัดไปหลังคาสีเหลืองเป็นเรือที่นักท่องเที่ยวใช้นั่งข้ามฟากทะเลสาบค่ะ


ครั้งหลังสุดนี้ไปค่อนข้างเย็น  เราเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปปักกิ่งวันที่ 8 พฤษภา  
วันที่ 9 ซึ่งเป็นวันที่สองของการเดินทางก็ลุยเที่ยวแต่เช้า 
 โดยเก็บสถานที่สำคัญในกรุงปักกิ่งก่อน  
เริ่มต้นจากพระราชวังต้องห้าม (紫禁城 --- 故宫)
เที่ยงทานอาหารติ๋มซำ  บ่ายไปต่อที่วัดลามะ ( ยงเหอกง 雍和宫)
และเดินทางไปถึงอี๋เหอหยวนเกือบ 4 โมงเย็น 



   ภาพนี้ถ่ายตอนเกือบ 5 โมงเย็น สวยไปอีกแบบ 



พฤษภาคม เป็นเดือนที่อากาศดีที่สุดเดือนหนึ่งของปักกิ่ง
แต่ช่วงมีนา - เมษา ยังเป็นช่วงที่อากาศหนาวและเย็นอยู่

อย่างภาพล่างนี้
วันที่ 5 เมษายน 2011 ซึ่งเป็นช่วงที่ร้อนสุดยอดของบ้านเรา  แต่ที่ปักกิ่งยังหนาวมาก ต้องใส่หนาๆ หลายชั้น  
ต้องมีผ้าพันคอหนาๆ ด้วย
สังเกตนะคะ  
คนที่นี่เขาจะพาผู้สูงอายุนั่งรถเข็นมาเที่ยวตามแหล่งต่างๆ ด้วย


(รูปบน คุณยายบนรถเข็น เป็นภาพเมื่อปี 2011 ส่วนภาพล่างเป็นภาพปี 2012  ก็มีคนเข็นรถพาผู้สูงอายุมาเที่ยวเหมือนกัน  เห็นมั๊ยคะ  มาทีไรก็เห็นภาพที่น่าประทับใจแบบนี้ทุกที )

เหล่าซือประทับใจมากเลย ไม่ใช่แค่ที่นี่ที่เดียว จะเห็นภาพอย่างนี้ทุกที่ในปักกิ่ง
เหล่าซือเดาว่าบางท่านอาจเป็นคนต่างจังหวัดหรือไม่ก็เป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่อยากจะมาชมโบราณสถานของกรุงปักกิ่งสักครั้งในชีวิต  (อาจจะเดาผิดก็ได้) 


เมษายน 2011 อากาศหนาวมากค่ะ  
คนเก็บบัตรผ่านประตูก็ต้องใส่ชุดแมนจูแบบหน้าหนาว



คุณศราวุธ ที่ไปด้วยกันปีที่แล้ว บอกว่ารูปแบบสถาปัตย์แบบนี้เป็นต้นแบบของตู้ display สินค้าหรือเปล่านี่อ่ะ



มีช่องหน้าต่างหลายแบบ เช่น เป็นรูปแจกันจีนฯ


5 เมษายน ปักกิ่งเพิ่งจะผ่านพ้นหน้าหนาวที่หฤโหด ต้นไม้ก็ยังไม่ค่อยมีใบ สวยแบบโกร๋นๆ



ส่วนภาพล่างนี้  เป็นภาพเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012  ใบเขียวเรียวยาวของต้นหลิ่วลู่ตามลมที่พัดมาเบาๆ  อากาศสบายๆ   นักท่องเที่ยวล่องเรืออยู่ในทะเลสาบ






นี่คือทะเลสาบคุนหมิง (หรือชื่อเดิม ทะเลสาบซีหู เลียนแบบทะเลสาบที่นครหางโจว) ที่ใช้กำลังคนขุดนับแสนในสมัยก่อน



ทะเลสาบนี้  เริ่มขุดในสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลง ราชวงศ์ชิง (清朝乾隆皇帝) คือ 200 กว่าปีก่อน



ประวัติความเป็นมา มีคนเขียนไว้เยอะแล้ว  เหล่าซือจะเพิ่มเติมบางส่วน และจะแปลจากภาษาจีนมาบางส่วน




ในหน้าหนาว พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์  อุณหภูมิที่ปักกิ่งติดลบกว่า 10 องศา  น้ำในทะเลสาบจะเป็นน้ำแข็ง ล่องเรือไม่ได้  
แต่เล่นสเก็ตน้ำแข็งได้













ฝรั่งสองคนนี้เป็นดาราหรือเปล่าไม่รู้ เห็นกลุ่มวัยรุ่นจีนไปรุมขอถ่ายรูปกันใหญ่










000



ตอนที่เรากำลังถ่ายรูปอยู่บนสะพานนี้  ก็ 5 โมงกว่าแล้ว  พวกคณะทัวร์ออกไปกันหมดแล้ว
ถ่ายจุดนี้เสร็จเราก็รีบเดินไปทางประตูด้านเหนือ
เพื่อจะไปชม เมืองซูโจวจำลองก่อนที่เขาจะปิดอุทยานตอน 6 โมงเย็น ตอนนี้บนสะพานก็เหลือแต่คณะเราคณะเดียว



นี่ค่ะ  เมืองซูโจวจำลอง 苏州城 ที่อยู่ในพระราชวังฤดูร้อน กรุงปักกิ่ง



ส่วนนี้อยู่ใกล้กับทางออกของอี๋เหอหยวนทางด้านทิศเหนือนะคะ**



**ภาพล่างนี้เป็นต้นเดือนเมษา เพิ่งจะสิ้นหน้าหนาว ต้นไม้ไม่ค่อยมีใบ



ภาพล่างนี้  ต้นพฤษภา ต้นไม้มีใบหนาแล้ว










เปรียบเทียบลักษณะต้นไม้ภาพบน (ถ่ายวันที่ 5 เมษา 2011)  กับภาพล่าง (ถ่าย 9 พฤษภา 2012)










นี่นะคะ รถเมล์สาย 690 นี้  วิ่งระหว่างเฉียนเหมิน - อี๋เหอหยวน
ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยภาษาปักกิ่ง 
มหาวิทยาลัยชิงฮว๋า  ปีที่แล้วเรานั่งรถเมลล์สายนี้จากมหาวิทยาลัยภาษาปักกิ่งไปอี๋เหอหยวน  คนละ 1 หยวน ( รายละเอียดจะมาเล่าตอนต่อไป)  




00










รู้จักคนนี้มั๊ยคะ  เดาว่าเป็นใครคะ
โพสต์รูปอย่างเดียวก็หมดเวลาแล้ว  เรื่องที่เกริ่นไว้แต่ต้นเรื่องขอยกไปเป็นเอนทรี่หน้านะคะ

ภาพที่คัดไว้มีอยู่ประมาณ 90 กว่าภาพ  จึงต้องลงเป็น 2 เอนทรี่ค่ะ  ขอโทษที่โพสต์ไม่หมดในคราวเดียวนะคะ 
ขอบคุณทุกท่านที่มาดูและมาแสดงความเห็นค่ะ 



เรื่องต่อเนื่อง

http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2012/06/23/entry-1



Entry ที่เกี่ยวข้อง

北京 BEIJING (6) สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง 鸟巢 สนามกีฬารังนก สถาปัตยกรรมยุคใหม่



北京 BEIJING สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง (5) 天坛 - 世界文化遗产 เทียนฐาน TIANTAN



北京 BEIJING ปักกิ่ง (4)



北京 BEIJING สถานที่น่าสนใจในปักกิ่ง (3) BEIJING CAPITAL MUSEUM พิพิธภัณฑ์นครหลวงปักกิ่ง

http://suwannafc.blogspot.com/2013/10/3-beijing-capital-museum.html  (คลิกที่นี่)



北京 BEIJING สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง(2)前门 - 大栅栏 เฉียนเหมิน - ต้าซันหลัน QIANMEN - DA SHAN LAN

http://suwannafc.blogspot.com/2013/10/beijing2-qianmen-da-shan-lan.html (คลิกที่นี่)


北京 BEIJING สถานที่ไม่ควรพลาดในปักกิ่ง(1)  前门 QIANMEN เฉียนเหมิน

http://suwannafc.blogspot.com/2013/09/beijing-1-qianmen.html  (คลิกที่นี่)




08 - 02 - 2013 ได้รวมลิงก์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้อ "เจาะลึกปักกิ่ง" ไว้ในเอนทรี่ข้างล่างนี้แล้ว



Facebook : Suwanna Future C
https://www.facebook.com/SuwannaFutureC?ref=hl





Flag Counter

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น