เรื่องนี้โพสต์ครั้งแรกที่
OKnation
Blog วันที่ 23 มิถุนายน 2555 (2012)
เจาะลึกปักกิ่ง
แบบไปกันเอง รวมภาพพระราชวังฤดูร้อน(2) เกร็ดประวัติศาสตร์จีนบางส่วน
Posted by เหล่าซือสุวรรณา
Posted by เหล่าซือสุวรรณา
深入北京、走进北京。 เจาะลึกปักกิ่ง
เกร็ดประวัติศาสตร์สำคัญ ช่วง "เสียกรุง" ให้กับชาติตะวันตก และ สิ้นสุดราชวงศ์ชิง
รวมภาพพระราชวังฤดูร้อน อี๋เหอเหยวียน หรือ อี๋เหอหยวน หนึ่งในมรดกโลกกรุงปักกิ่ง
รวมภาพพระราชวังฤดูร้อน อี๋เหอเหยวียน หรือ อี๋เหอหยวน หนึ่งในมรดกโลกกรุงปักกิ่ง
2011 และ 2012 ต่อจากเอนทรี่ที่แล้ว
Summer Palace Bejing, One of the world Heritage in Beijing
เที่ยวปักกิ่งแบบไปกันเอง 北京颐和园 ---- 世界文化遗产之一
ประเทศที่มีอารยธรรม และมีประวัติศาสตร์ยาวนานทุกประเทศล้วนแต่มีและอนุรักษ์โบราณสถานต่างๆ เช่น พระราชวังซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ศูนย์กลางการเมืองการปกครองของชาติต่างๆ ศาสนสถาน ฯลฯ ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษากันทั้งสิ้น
ไม่ว่าประวัติความเป็นมาจะเป็นอย่างไรก็ตาม
เพราะถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ
อี๋เหอหยวน (พระราชวังฤดูร้อน) ก็เช่นกัน
อี๋เหอหยวนได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก้ ให้เป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมตั้งแต่ปี 1997
ทะเลสาบคุนหมิงที่อยู่ในอี๋เหอหยวน เดิมมีชื่อว่าทะเลสาบซีหู (ซึ่งเป็นการตั้งชื่อเลียนแบบทะเลสาบซีหูที่เมืองหังโจว)
ฮ่องเต้เฉียนหลงรับสั่งให้ใช้แรงงานมนุษย์ขุดขยายตั้งแต่ปี 1749 เพื่อจัดงานฉลองวันพระราชสมภพแด่พระมารดาของพระองค์
พอมาถึงยุคที่พระนางซูสีไทเฮามีอำนาจ ได้สร้างขยายและใช้วังแห่งนี้เป็นที่พักผ่อนรวมทั้งปรึกษาราชการ
บล็อกเกอร์ลูกเสือหมายเลข 9 ได้กรุณามาแสดงความเห็นโพสต์ไว้ในเอนทรี่ที่แล้วว่า
" .........การสร้างวังใหม่ของแต่ละรัชกาล หมายถึงการสร้างอาณาจักรใหม่
ในอดีตเป็นเรื่องของการดูฤกษ์ยาม กระทั่งเวลาตกฟาก
ที่สำหรับองค์หนึ่ง..อาจจะไม่เหมาะกับอีกองค์หนึ่ง ................... "
ในอดีตเป็นเรื่องของการดูฤกษ์ยาม กระทั่งเวลาตกฟาก
ที่สำหรับองค์หนึ่ง..อาจจะไม่เหมาะกับอีกองค์หนึ่ง ................... "
................................
ปี 1860 ทหารพันธมิตรอังกฤษและฝรั่งเศสบุกเข้าเมืองปักกิ่ง (เข้าปล้นชิงสมบัติมีค่าในพระราชวัง)
และสั่งให้เผาพระตำหนักเหยวียนหมิงเหยวียน(圆明园) รวมทั้งเผาอี๋เหอหยวนด้วย
1885 - 1894 พระนางซูสีไทเฮาเอางบประมาณทีใช้พัฒนากองทัพเรือมาบูรณะซ่อมแซมอี๋เหอหยวน จนเป็นเหตุให้การป้องกันประเทศขาดประสิทธิภาพ
1885 至 1894 年年间,慈禧太后以海军经费修复被毁的清漪园。
และเมื่อพระนางฯ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูปของฮ่องเต้กวางซวี่
พระราชวังแห่งนี้ก็กลายเป็น"คุก"ที่ใช้คุมขังฮ่องเต้กวางซวี่ (1889)
1900 พฤษภาคม กลุ่มอี้เหอถวน(义和团)บุกเข้ากรุงปักกิ่งและเข้าล้อมสถานทูตต่างประเทศ
พระนางซูสีไทเฮาประกาศสงครามกับประเทศตะวันตก
สิงหาคมปีเดียวกัน กองกำลัง 8 ชาติบุกเข้าปักกิ่ง
และกองกำลังรัสเซีย อิตาลีเข้ายึดพระราชวังอี๋เหอหยวนวันที่ 15 สิงหาคม 1900
การที่ทหารต่างชาติเข้ายึดจีนได้อย่างง่ายดาย
สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการที่กองทัพเรือของจีนซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการต่อสู้กับต่างชาติในสมัยนั้นขาดประสิทธิภาพเพราะถูกตัดงบประมาณ
(เอามาบูรณะอี๋เหอหยวน)
1901 รัฐบาลของราชวงศ์ชิงต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับประเทศต่างๆ ที่บุกยึดปักกิ่ง
ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นสัญญาที่แบ่งกันยึดครองดินแดนสำคัญๆ ของจีน ( แบ่งเค้ก)
เรียกว่า 辛丑条约 สนธิสัญญา "ซินโฉ่ว"
ซึ่งทำให้ชาวจีนต้องสูญเสียชีวิตจำนวนมากจากสงครามและการกู้ชาติในเวลาต่อมา
1902 ทันทีที่กลับเมืองปักกิ่ง พระนางซูสีไทเฮาก็ใช้งบประมาณมหาศาลในการซ่อมแซมบูรณะพระราชวังที่ถูกต่างชาติทำลายแห่งนี้ และใช้สถานที่นี้จัดงานฉลองวันเกิด 70 พรรษา
1908 พระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ ฮ่องเต้ปูยีขึ้นครองราชย์ขณะที่มีพระชนมายุ 3 พรรษา
หลังจากนั้น ชาวจีนผู้รักชาติทั้งในและนอกประเทศจีนได้จัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ
โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนนอกที่นำโดย ดร.ซุนยัตเซ็น (孙中山先生) เคลื่อนไหวต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ
และกลุ่มของ ดร.ซุนยัตเซ็นสามารถยึดเมืองปักกิ่งได้ในปี 1911
สถาปนาประเทศจีนเป็นสาธารณรัฐ
ถือเป็นการสิ้นสุดยุคการปกครองของราชวงศ์ชิง (ซึ่งปกครองโดยชาวแมนจู)
และสิ้นสุดการปกครองโดยฮ่องเต้ อำนาจการปกครองกลับคืนสู่มือชาวจีน (ชาวฮั่น)
ประเทศจีนจึงถือว่า ปี 1911 เป็นปีสำคัญในการแบ่งช่วงประวัติศาสตร์
เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์จีนที่น่าเก็บรับเป็นอุทาหรณ์
บล็อกเกอร์ BlueHill ได้กรุณาโพสต์ไว้ในเอนทรี่ที่แล้วเช่นกันว่า
.....
เรื่องราวในอดีตมีทั้งที่ควรจดจำและไม่ควรจดจำ
ที่ควรจดจำก็ช่วยกันศึกษาส่วนดีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
ที่ไม่ควรจดจำก็เรียนรู้ให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อป้องกันไม่ให้่เกิดขึ้นอีก
การศึกษาประวัติศาสตร์ จึงเป็นการทบทวนปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจอนาคต ครับ
.....................................................................
ต้นไม้อายุหลายร้อยปีในอุทยาน
000
000
00
ถ้าช่วงไหนประเทศจีนได้ผู้ปกครองที่ดี มีคุณธรรม มีหลักการปกครองดี ก็จะเป็นช่วงที่ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข เศรษฐกิจและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง
แต่ช่วงที่เป็นปลายราชวงศ์ชิงซึ่งปกครองโดยชาวแมนจู ( รวมถึงพระนางซูสีไทเฮา แมนจู เป็นชนเผ่าส่วนน้อยที่เข้ามาปกครองชาวจีน ไม่ใช่ชาวจีน) อำนาจถูกกุมอยู่ในมือของพระนางซูสีไทเฮาและพวกพ้องที่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว จึงนำความหายนะมาสู่ชาวจีนในสมัยนั้น
ราชวงศ์ชิงเป็นชนเผ่าหนึ่งที่รบเก่ง และบุกรุกแผ่นดินจีนโดยอาศัยการช่วยเหลือของคนจีนที่ขายชาติ จึงอยากมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นอุทธาหรณ์ ถ้ามีคนขายชาติหรือชักศึกเข้าบ้าน
ก็ไม่แน่เสมอไปว่าประเทศที่มีประชากรมากกว่าหลายเท่าจะถูกปกครองโดยคนชนชาติอื่นที่มีจำนวนน้อยกว่าไม่ได้
หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยวแบบศึกษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออก
หมายเหตุ
สุวรรณา สนเที่ยง ถอนความและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาจีนของเว็บไซต์ทางการของ Yi He Yuan โดยมีการเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วน
พระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน
รวมเรื่องเกี่ยวกับปักกิ่ิง 深入北京
เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น